Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทา , then , ทะ, ทา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทา, 769 found, display 701-750
  1. สัทวิทยา : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
  2. สัทศาสตร์ : [สัดทะ] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและ การเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
  3. สัทอักษร : [สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียง ประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).
  4. สับเกลียว, สับเชือก : ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้ว เอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้น ที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
  5. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  6. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  7. สาเก : น. ชื่อเรียกขนุนสําปะลอพันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด. (ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน๑). (เทียบทมิฬ sakki ว่า ขนุน).
  8. หญ้าแห้วหมู : ดู แห้วหมู ที่ แห้ว.
  9. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  10. หนอกช้าง : [หฺนอก-] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ผักชีล้อม. (ดู ชีล้อม ที่ ชี๒).
  11. หนุน : ก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน; ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอา สิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่ เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.
  12. หมากแข้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะเขือพวง, ต้นมะแว้ง. (ดู มะเขือพวง ที่ มะเขือ และ มะแว้ง).
  13. หลิท : [หะลิด] น. ขมิ้น. (ป. หลิทฺท; ส. หริทฺธ).
  14. หัวขี้หมา : (ปาก) น. ก้อนขี้หมา. (ดู ก้อนขี้หมา ที่ ก้อน).
  15. หัวเนื้อทราย : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวปุพพภัททะ ก็เรียก.
  16. หัวบัว ๓ : น. โกฐหัวบัว. (ดู โกฐหัวบัว ที่ โกฐ).
  17. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  18. หางช้าง : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Belamcanda chinensis DC. ในวงศ์ Iridaceae ใบเป็นแผ่นคล้ายพัดด้ามจิ้วหรือขนปลายหางช้าง, ว่านหางช้าง ก็เรียก, อีสานและพายัพเรียก ว่านมีดยับ. (๒) ข้าวฟ่างหางช้าง. (ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว).
  19. หางสิงห์ : น. สนหางสิงห์. (ดู สนหางสิงห์ ที่ สน๑).
  20. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  21. หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  22. เหลือง ๓ : [เหฺลือง] ดู กุ้งเหลือง ที่ กุ้ง๑.
  23. เหลือง ๔ : [เหฺลือง] ดู ไข้เหลือง ที่ ไข้.
  24. เหลืองหางฟ้า : ดู กุ้งเหลือง ที่ กุ้ง๑.
  25. แห่ง : น. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
  26. ไหลน้ำ : ดู หางไหลแดง ที่ หางไหล๒.
  27. อ้น ๒, อ้นอ้อ : ดู ชีล้อม ที่ ชี๒.
  28. อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
  29. อปราธ : [อะปะราทะ] น. ความผิด, โทษ. (ป., ส.).
  30. อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  31. อรรธกรรณ : [อัดทะกัน] น. ''ครึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง'' คือ รัศมีของ วงกลม. (ส. อรฺธกรฺณ).
  32. อรรธจักร : [อัดทะจัก] น. เรียกดวงชาตาของคนที่พระเคราะห์ไป ร่วมกันอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง.
  33. อรรธจันทร์ : [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขาย หรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
  34. อรรธนิศา : [อัดทะนิสา] น. เวลาเที่ยงคืน. (ส.).
  35. อรรธบท : [อัดทะบด] น. ครึ่งทาง. (ส. อรฺธปท).
  36. อรรธภาค : [อัดทะพาก] น. ครึ่งหนึ่ง.
  37. อรรธสระ : [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
  38. อรรธ, อรรธ : [อัด, อัดทะ] น. ครึ่งหนึ่ง, ซีก, ส่วนหนึ่ง. (ส. อรฺธ; ป. อฑฺฒ, อทฺธ).
  39. อวรุทธ์, อวรุทธก : [อะวะรุด, อะวะรุดทะกะ] ว. ถูกขับไล่. (ป., ส.).
  40. ออกลูกหมด : ก. เปลี่ยนการบรรเลงเพลงธรรมดาไปเป็น เพลงลูกหมด. (ดู ลูกหมด ที่ ลูก).
  41. อ้อยช้าง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Lannea coromandelica Merr. ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามป่า ใช้ทํายาได้, กุ๊ก ก็เรียก. (๒) ดู กาซะลองคํา ที่ กาซะลอง.
  42. อัฐม, อัฐมะ : [อัดถะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘ เช่น อัฐมภาค อัฐมราชา. (ป. อฏฺ?ม).
  43. อัฒ : [อัดทะ] ว. กึ่ง, ครึ่ง, ซีก. (ป. อฑฺฒ; ส. อรฺธ).
  44. อัณฑ, อัณฑะ : [อันทะ] น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะลับชาย, กระโปก; ไข่. (ป., ส.).
  45. อัทธ, อัทธ์, อัทธา, อัทธาน : [อัดทะ] น. ทาง, ทางไกล, ระยะไกล; กาล, กาลยาวนาน. (ป.; ส. อธฺวนฺ).
  46. อัธยาตมวิทยา : [อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).
  47. อัธยาย : [อัดทะยาย] น. บทเรียน, บท; การอ่าน, การเล่าเรียน. (ส. อธฺยาย).
  48. อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  49. อันธ : [อันทะ] ว. มืด, มืดมน, เช่น อันธกาล; โง่, ทึบ, เช่น อันธปัญญา; มองไม่เห็น, บอด, เช่น อันธจักษุ. (ป., ส.).
  50. อัษฎมะ : [อัดสะดะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘. (ส.; ป. อฏฺ?ม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-769

(0.0343 sec)