ได้ฤกษ์ : ก. ถึงเวลาอันเป็นมงคล.
ได้เสียกัน : ก. เป็นผัวเมียกันแล้ว.
ต : พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกด ในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
ตก :
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
ตกกระ : ว. มีลักษณะเป็นจุดดํา ๆ เล็กบ้างโตบ้างที่ผิวกาย คน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ.
ตกกระไดพลอยโจน : (สํา) จําเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยว ข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง.
ตกขุย : ก. ออกดอกเป็นเมล็ด (ใช้แก่ไม้ไผ่).
ตกทอง : น. วิธีการหลอกลวงด้วยการใช้ทองปลอมที่มีน้ำหนักมาก กว่าไปแลกเป็นทองแท้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า.
ตกท้องช้าง : ก. ลักษณะที่สายป่านว่าวเป็นต้นมีนํ้าหนักมากถ่วงลง เกินควร.
ตกทอด : ก. ตกสืบกันมาเป็นทอด ๆ, สืบจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง, เช่น มรดกตกทอด; เรียกบําเหน็จบํานาญที่ตกแก่ทายาทของผู้รับ บําเหน็จบํานาญว่า บําเหน็จตกทอด หรือ บํานาญตกทอด.
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ : (สํา) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ ไม่เป็นอันตราย, เป็นคําเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่ สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.
ตกผลึก : ก. กลายเป็นผลึก (ใช้แก่สารละลาย).
ตกพุ่มม่าย : ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาด จากความเป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
ตกฟาก : ก. เกิด, เรียกเวลาที่เด็กออกพ้นครรภ์มารดาว่า เวลาตกฟาก (พื้นเรือนโบราณโดยมากเป็นฟาก); โดยปริยายใช้ในลักษณะที่พูดคํา เถียงคําไม่หยุดปากว่า เถียงคําไม่ตกฟาก.
ต๋ง ๑ : ก. ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนัน บางชนิดเช่นถั่ว โป, เรียกเงินที่ได้โดยวิธีนี้ว่า เงินค่าต๋ง. (จ. ต๋งจุ้ย).
ตงุ่น : [ตะหฺงุ่น] ว. เรียกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเป็นยางอย่างนํ้าผึ้งว่า นํ้าตาลตงุ่น.
ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ตจสาร : [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
ตถาคต : [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้ว อย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
ตน : น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
ต้นขั้ว : น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ใน เล่มเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า.
ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
ต้นเพลิง : น. คนหรือสิ่งที่เป็นเหตุทําให้เกิดไฟไหม้; ผู้ที่จุดไฟเผาศพคนแรก.
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
ต้นสายปลายเหตุ : น. ความเป็นมาของเรื่อง.
ต้นเหตุ : น. คนหรือสัตว์เป็นต้นที่ทําให้เกิดเหตุเกิดเรื่อง.
ตนุ ๒ : [ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas ในวงศ์ Cheloniidae ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ดบนหลัง แต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
ตบแต่ง : ก. ทําให้งาม; จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่ง ลูกสาวให้เป็นฝั่งเป็นฝา.
ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
ต้ม ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้ นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าว ข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าว อย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
ต้มปลาร้า : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้เป็นต้นเป็นผัก มี ลักษณะคล้ายแกงเลียง แต่ใส่ปลาร้า.
ตรงกัน : ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถว ให้ตรงกัน.
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
ตรมเตรียม : [-เตฺรียม] ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เกรียมกรม หรือ เตรียมตรม ก็ได้.
ตรวน : [ตฺรวน] น. เครื่องจองจํานักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขานักโทษ มีโซ่ล่ามถึงกัน.
ตรวย : [ตฺรวย] ก. พุ่งตรงมา เช่น บ้างเป็นเสาตรวยตรงลงถึงดิน. (อิเหนา).
ตระชัก : น. ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
ตระพอง : [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
ตระหง่าน : [ตฺระหฺง่าน] ว. สูงเด่นเป็นสง่า.
ตรัสรู้ : [ตฺรัดสะ-] ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า); โดยปริยายหมายความว่า รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.
ตรา : [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
ตราขุนพล : น. ลายที่ขีดเป็นกากบาทที่ก้นหม้อตาลสําหรับปักไว้กันผี.
ตราแดง : (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่งแล้ว งดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.
ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
ตราบาป : น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.
ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
ตราสัง : ก. มัดศพ, ผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบเป็นต้น.
ตราสาร : (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนด ที่ดิน ตั๋วเงิน.