รู้งาน : ก. ทำงานเป็น, เข้าใจลักษณะงาน, เช่น แม้ว่าเขาจะเข้าใหม่ แต่ก็ รู้งานดี.
รู้ใจ : ก. รู้อัธยาศัยใจคอว่าเป็นอย่างไร หรือชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เช่น ลูกน้องรู้ใจนาย, รู้เส้น ก็ว่า.
รูดซิป : ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.
รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
รู้ตื้นลึกหนาบาง : ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.
รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
รูทีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๔ สัญลักษณ์ Ru เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๒๓๑๐?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. ruthenium).
รู้เท่า : ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร; รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ : ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝาก ของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
รูบิเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙?ซ. (อ. rubidium).
รูปฌาน : [รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.
รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
รูปแบบ : น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.
รูปพรรณ : [รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.
รูปพรหม :
น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวก มีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม).
รูปภาพ : น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพ มีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนัง ผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.
รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
รูปเหลี่ยม : น. รูปที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรงอย่างน้อย ๓ เส้น ปลาย เส้นจดกัน.
รูเล็ตต์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือใช้ลูกงากลมใส่ในวงล้อที่หมุนอย่างเร็ว วงล้อนั้นแบ่งเป็นช่อง ๆ สีแดงสลับดํา มีเลขกํากับทุกช่อง ผู้เล่นจะต้อง แทงว่าลูกกลมนั้นจะตกที่ช่องใด โดยจะแทงแต่ละหมายเลขหรือจะแทง เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเลข คู่คี่ กลุ่มเลข สูงตํ่า หรือจะแทงสีก็ได้. (อ. roulette).
รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
รู้เห็น : ก. รู้และเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น เขาเป็นพยานที่รู้เห็น.
รู้อยู่แก่ใจ : ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกง แล้วยังคบกันอยู่ได้.
เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
เรขาคณิตบริสุทธิ์ : (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้กฎเกณฑ์ของระบบ ตรรกศาสตร์โดยเริ่มต้นจากบทนิยามและสัจพจน์ที่เกี่ยวกับรูปทรง มาเรียบเรียงให้เป็นทฤษฎีบทแล้วอนุมานผลลัพธ์จากทฤษฎีบท. เรขาคณิตวิเคราะห์ (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซต ของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้ สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
เรดอน : น. ธาตุลําดับที่ ๘๖ สัญลักษณ์ Rn เป็นแก๊สกัมมันตรังสีที่มีปรากฏใน ธรรมชาติ ลักษณะเป็นแก๊สเฉื่อย. (อ. radon).
เรเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๘๘ สัญลักษณ์ Ra เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏใน ธรรมชาติ เป็นโลหะที่หายากมาก หลอมละลายที่ ๗๐๐?ซ. ใช้ประโยชน์ ในทางแพทย์สําหรับรักษาโรคมะเร็ง. (อ. radium).
เร้นลับ : ว. เหลือรู้เหลือเห็น เหลือที่จะเข้าใจ เช่น ซ่อนสมบัติไว้ในที่ เร้นลับ เชื่อกันว่าเมืองลับแลเป็นเมืองที่เร้นลับ.
เร่ร่อน, เร่ร่าย : ก. อยู่หรือไปไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อแม่ตายก็ ต้องเร่ร่อนหาที่พักพิงไปเรื่อย ๆ. ว. ที่อยู่ไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น คนเร่ร่อน, ร่อนเร่ ก็ว่า.
เรวดี : น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๗ มี ๑๖ ดวง เห็นเป็นรูปหญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนางก็เรียก. (ป., ส. เรวตี).
เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
เราะ ๑ : น. ไม้ไผ่เป็นต้นเหลาเป็นซี่กลม ๆ ถักให้ติดกันเป็นผืน สําหรับล้อมปลา.
เราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
เริม : น. ชื่อโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ พองใสติดกันเป็น กลุ่ม มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน.
เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
เรียงพี่เรียงน้อง : ว. เป็นลูกพี่ลูกน้องกันตามลำดับศักดิ์ คือผู้เป็นพี่มีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้พี่ น้องมีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้น้อง บุตรทั้งสอง ฝ่ายนั้นเรียกว่า เรียงพี่เรียงน้องกัน.
เรียงรัน : ก. เรียงเป็นระเบียบ.
เรียงราย : ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบ สนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน.
เรียงหน้ากระดาน : ก. เรียงไหล่หันหน้าไปทางเดียวกันเป็นแนวยาว เช่น จัดแถวเรียงหน้ากระดาน.
เรียด ๒ : น. เครื่องมือสำหรับชักหวายให้เป็นเส้นกลมขนาดต่าง ๆ ทำด้วยแผ่น โลหะเจาะรูตามขนาดที่ต้องการ.
เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.