Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เย้าแหย่, แหย่, เย้า , then ยา, ยาหย, เย้, เย้า, เย้าแหย่, หย, แหย่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เย้าแหย่, 894 found, display 151-200
  1. กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
  2. กระดาด, กระดาดขาว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทํายา หัวทําให้สุก แล้วกินได้, เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก.
  3. กระดาดดำ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Alocasia และ Xanthosoma วงศ์ Araceae คือ ชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ลักษณะคล้ายกระดาด ใบสีเขียวเข้มหรือม่วงดำ ใช้ทํายาได้, ปึมปื้อ หรือ เอาะลาย ก็เรียก; และชนิด Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. ใบสีเขียวเข้มหรือม่วง โคนใบเว้าลึกคล้ายหัวลูกศร หัว ใบ และก้านกินได้.
  4. กระดาดแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott var. metallica Schott ในวงศ์ Araceae โคนใบเว้าลึกและห่างไม่มาก ก้านใบสีม่วงแดง กาบหุ้มช่อดอกด้านในสีเหลืองหรือม่วงแดง ใช้ทํายาได้.
  5. กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
  6. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  7. กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
  8. กระต่ายจาม : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Br. et Aschers ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้าย ต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทํายาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก. (๒) ดู การบูรป่า.
  9. กระโถนฤๅษี : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Sapria himalayana Griff. ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนที่รากเครือเขาน้ำ (Tetrastigma lanceolarium Planch.) ดอกรูปกระโถนปากแตร กลิ่นเหม็น กลีบดอกสีน้ำตาลแดงประเหลือง ใช้ทํายาได้.
  10. กระทงลาย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตก เป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษ กันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
  11. กระท่อม ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมน้ำทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.
  12. กระท่อมเลือด : น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับ อย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
  13. กระทึง : น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง.
  14. กระทุงหมาบ้า : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.
  15. กระบือเจ็ดตัว : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑-๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง.
  16. กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
  17. กระพังโหม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก.
  18. กระมึน : (โบ) ว. สูงค้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.
  19. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  20. กระยาหงัน : น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
  21. กระลำพัก : น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้.
  22. กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
  23. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  24. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  25. กระออม ๒ : (กลอน) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานน้ำทิพย์สิบกระออม. (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
  26. กริยาวิเศษณ์วลี : (ไว) น. ท่อนความที่มีคํากริยาวิเศษณ์ ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.
  27. กฤษณา : [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
  28. กล้อ ๒ : [กฺล้อ] (โบ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไห ไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
  29. กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  30. กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
  31. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  32. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  33. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  34. กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  35. กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
  36. กวาวเครือ : [กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้.
  37. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  38. กะตังใบ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Leea วงศ์ Leeaceae คือ ชนิด L. indica (Burm.f.) Merr.ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม ดอกเล็ก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อตามยอด ผลสีเขียว ใบใช้ทํายาได้, กะดังบาย ก็เรียก; และชนิด L. rubra Blume ex Spreng. ดอกมีก้านช่อ ดอกและผลสีแดง, เขือง ก็เรียก.
  39. กะทือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber zerumbet (L.) Smith ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีเหลือง ผลกลมสีแดง เหง้าสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ เมื่ออ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่อดอกอ่อนใช้เป็นผัก.
  40. กะเพรา : [-เพฺรา] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียว อมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กอมก้อ.
  41. กะเม็ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด Eclipta prostrata L. ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่ทั่วไป ลําต้นสีม่วงคล้ำ ใบเขียวมีขนคาย ดอกสีขาว ใช้ทํายาได้, กะเม็งตัวเมีย หรือ คัดเม็ง ก็เรียก.
  42. กะเม็งตัวผู้ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Wedelia chinensis (Osbeck) Merr. ในวงศ์ Compositae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ทอดลําต้นและ ออกรากตอนโคน ใบคาย ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
  43. กะเมีย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Uncaria gambier Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบและกิ่งหมักแล้วนําไปสกัดได้สารที่เรียกว่า สีเสียด ใช้ทํายาได้.
  44. กะละออม : น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. (ทมิฬ กะละยัม แผลงมาจาก ส. กลศ).
  45. กะออม : น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
  46. กัจฉา : [กัดฉา] (แบบ) น. สายรัดท้องช้าง. (ป.; ส. กกฺษา, กกฺษฺยา).
  47. กัญญา ๑ : [กันยา] น. สาวรุ่น, สาวน้อย. (ป.; ส. กนฺยา).
  48. กันยายน : น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา = นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์ มาสู่ราศีกันย์).
  49. กับแก้ ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ล้มลุกไร้ดอกชนิด Selaginella argentea (Wall. ex Hook. et Grev.) Spring ในวงศ์ Selaginellaceae ใช้ทำยาได้ ใบอ่อนใช้เป็นผัก, พ่อค้าตีเมีย ก็เรียก.
  50. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-894

(0.0985 sec)