Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียง , then สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียง, 963 found, display 351-400
  1. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  2. ช้างร้อง : น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือน เสียงช้างร้อง.
  3. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  4. ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
  5. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  6. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  7. ซด : ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด.
  8. ซอแซ : (โบ; กลอน) ว. เสียงจอแจ, ซ้อแซ้.
  9. ซ้อแซ้ : (กลอน) ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้. (สังข์ทอง).
  10. ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
  11. ซะซร้าว : [–ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
  12. ซะซอเซีย : (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
  13. ซะซิกซะแซ : (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
  14. ซะซิบ : (กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
  15. ซั้ว ๑ : ว. เสียงที่ไล่นกหรือไก่เป็นต้น.
  16. ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
  17. ซี้ด : ว. เสียงอย่างเสียงสูดปากเช่นกินอาหารเผ็ดเป็นต้น.
  18. ซุ่มเสียง : (โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
  19. ซู่ ๒, ซู่ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
  20. ซู้ด : ว. เสียงอย่างคนซดนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ.
  21. ซูด, ซูดซาด : ว. เสียงอย่างเสียงคนกระทําเมื่อเวลากินของเผ็ด.
  22. เซ็ก : (กลอน) ก. เซ็งแซ่ เช่น เซ็กห้องเสียงหัว. (นิทราชาคริต).
  23. แซ่ ๑ : ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย.
  24. แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
  25. แซด : ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซด.
  26. ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
  27. ฐากูร : [ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคน ที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. ?กฺกุร).
  28. ฐานกรณ์ : [ถานกอน] (ไว) น. ที่ตั้งและเครื่องทําให้เกิดเสียงในการพูด.
  29. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  30. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  31. ด้วง ๔ : น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกระบอกมักทําด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะคล้ายด้วง ดักสัตว์ ใช้หนังหรือ''กระดาษหลาย ๆ ชั้นปิดด้านหนึ่ง มีสาย ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงในเวลาสี.
  32. ดอกลำโพง : น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียก สั้น ๆ ว่า ลําโพง.
  33. ดัง ๒ : ว. บังเกิดเสียงขึ้นหรือทําให้เสียงบังเกิดขึ้นอย่างแรง เช่น กลองดัง พูดดัง เสียงดัง.
  34. ดาร-, ดาระ : (แบบ) น. เสียง, เสียงดัง, เสียงสูง, เสียงแหลม. ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคนผู้ข้า ได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตาร).
  35. ดารา : น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะการแสดงใน ทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี ๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ. (ป., ส. ตารา).
  36. ดิง, ดึง : ก. ดีดทําเสียงดิง ๆ เช่น ดีดพิณ ใช้ว่า ดิงพิณ หรือ ดึงพิณ. (ไทยใหญ่ ดิง ว่า พิณ).
  37. ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
  38. ดีด ๑ : ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด; ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
  39. ดูดู๋, ดูหรู : (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
  40. ดูรึ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
  41. ดูหรือ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
  42. ได้ชื่อ : ก. ขึ้นชื่อ, มีชื่อเสียง.
  43. ได้ยิน : ก. รับรู้เสียงด้วยหู.
  44. ได้หน้า : ว. ได้เกียรติ, ได้ชื่อเสียง, ได้หน้าได้ตา ก็ว่า.
  45. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  46. ตกใจ : ก. สะดุ้งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ หรือมีใครมา ถูกต้องตัว, ใจหาย.
  47. ตบมือ : ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.
  48. ตระแตร้น, ตะแตร้น : [ตฺระแตฺร้น, -แตฺร้น] (กลอน) ว. เสียงช้างร้อง.
  49. ตระไน : [ตฺระ-] (กลอน) น. นกกระไน เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์). (ดู กระไน).
  50. ตระเบ็ง : [ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง. undefined
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-963

(0.0770 sec)