ลาวา : น. หินหนืดใต้เปลือกโลกที่พุพุ่งไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟ. (อ. lava).
ลาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ลาว เช่น ลาว กระแซ ลาวดวงเดือน ลาวดําเนินทราย ลาวเจริญศรี.
ลาว ๑ : น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี พรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
ฟ้อนลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
รำลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือ มากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้อง และดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
จำปาลาว :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
เมี่ยงลาว : น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
เขมร ๑ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
จาว ๕ : ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
จีน ๑ : น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับ มองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และ คาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้.
ตะวัน : น. ดวงอาทิตย์. ตะวันขึ้น ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. ตะวันตก ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก; เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดย เฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. ตะวันยอแสง ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสี แดงเข้ม. ตะวันออก ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศ ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. ตะวันออกกลาง น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก ของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. ตะวันออกใกล้ น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย. ตะวันออกไกล น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก ทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออก เฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย. ตะวันอ้อมข้าว ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว.
ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
มลาว : [มะลาว] น. ลาว.
มองโกลอยด์ : น. ชนชาติผิวเหลือง มีลักษณะผมดําเหยียด หน้ากว้าง จมูกเล็ก ตาเรียว เช่น ไทย จีน ลาว เขมร เวียดนาม. (อ. Mongoloid).
ปุฬวะ : [-ละวะ] น. หนอน. (ป.).
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
กีบ ๒ : น. ชื่อหน่วยเงินตราของลาว.
ซุ้ม ๓ : น. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้าย เพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะเรียกว่า ออกซุ้ม.
ญวน ๑ : น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทาง ทิศตะวันออกของประเทศลาวและเขมร, ปัจจุบันเรียกว่า ประเทศเวียดนาม.
ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
เทียนตาตั๊กแตน : น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของผักชีลาว (Anethum graveolens L.) และไม้ล้มลุกชนิด A. sowa Roxb. ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
ไทย ๑ : [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
พวน ๓ : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
ฟ้อนแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
มันแกว : น. ชื่อมันชนิด Pachyrhizus erosus (L.) Urban ในวงศ์ Leguminosae ใช้กินดิบ ๆ มีรสชืด ๆ หรือหวานน้อย ๆ เมล็ดเป็นพิษ, พายัพเรียก มันแกวลาว.
เมี่ยง ๒ : น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม.
เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
ออกซุ้ม : ก. บรรเลงทำนองเพลงสำเนียงลาวต่อท้ายเพลงเดี่ยว ลาวแพนโดยเฉพาะ.
แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.