Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เต็มเปี่ยม, เปี่ยม, เต็ม , then ตม, ตมปยม, เต็ม, เต็มเปี่ยม, ปยม, เปี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เต็มเปี่ยม, 318 found, display 1-50
  1. เปี่ยม : ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่, บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
  2. บริบูรณ์ : [บอริบูน] ก. ครบถ้วน, เต็มที่, เต็มเปี่ยม. (ส. ปริปูรฺณ; ป. ปริปุณฺณ).
  3. เพียบพร้อม : ว. เต็มเปี่ยม, ครบทุกอย่าง.
  4. ไพบูลย์ : น. ความเต็มเปี่ยม, ความเต็มที่. ว. เต็มเปี่ยม, เต็มที่. (ส. ไวปุลฺย; ป. เวปุลฺล).
  5. สมัต : [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์. (ป. สมตฺต).
  6. อัด ๒ : ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
  7. เดือนเต็ม : น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เดือน ๑๐ เดือน ๑๒, คู่กับ เดือนขาด.
  8. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  9. ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
  10. กฤดายุค : [กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
  11. บูรณ-, บูรณ์ : [บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
  12. ประดา ๑ : ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
  13. เปลี่ยม : [เปฺลี่ยม] (กลอน) ก. เปี่ยม.
  14. เพ็ง : ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
  15. เพ็ญ : ว. เต็ม. (ข. เพ?).
  16. เมือบ : ว. มาก, เต็ม.
  17. แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
  18. กบ ๖ : ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
  19. กมณฑลาภิเษก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มใน กมณฑลาภิเษก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + ส. อภิเษก = รด).
  20. กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  21. กระซับ : น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุตลอด จนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า กระซับปากเรือ.
  22. กระเดือก ๒ : (ปาก) ก. กลืนอย่างลําบาก เช่น กระเดือกไม่ลงคอ เต็มกระเดือก.
  23. กระโดน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
  24. กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
  25. กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม : ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร).
  26. กระสือ ๓ : น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลาน ไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็น จังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
  27. กระสูบ : น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัว ใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
  28. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  29. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  30. กระอ้อมกระแอ้ม : ว. อ้อมแอ้ม, ไม่ฉะฉาน, ไม่ชัดเจน, ไม่เต็มปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
  31. กระอิดกระเอื้อน : ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก; แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ.
  32. กรีดกราย : ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
  33. กลบ : [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย. (กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
  34. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  35. กล้อ ๒ : [กฺล้อ] (โบ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไห ไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
  36. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  37. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  38. กะทุน : น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัย ซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัดเช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน.
  39. กะพร่องกะแพร่ง : [-พฺร่อง-แพฺร่ง] ว. ขาด ๆ วิ่น ๆ, มีบ้างขาดบ้าง, ไม่สม่ำเสมอ; ไม่เต็มที่, ไม่ครบถ้วน, ไม่พอเพียง, (ตามที่คาดหมายไว้).
  40. กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
  41. กามิศ, กาเมศ : ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยัง ติดแม่. (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).
  42. กำ ๑ : ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตรของกลมนั้นเรียกว่า มีขนาด ๑ กํา, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กําสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กําเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กําสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกําหนึ่ง หญ้า ๒ กํา.
  43. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  44. กำมือ : น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า; กำ ก็ว่า; มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน.
  45. แกน : น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ เต็มแกน.
  46. แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
  47. แก้วกุ้ง : น. รังไข่ของกุ้งที่เจริญเต็มที่ มีสีแดงอมส้มหรือสีส้ม, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นมันกุ้งที่เป็นก้อนอยู่ในหัวกุ้ง.
  48. โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
  49. ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
  50. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-318

(0.1444 sec)