Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เน่าเสีย, เสีย, เน่า , then นา, นาสย, เน่า, เน่าเสีย, สย, เสีย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เน่าเสีย, 938 found, display 1-50
  1. เน่า : ว. เสียและมีกลิ่นเหม็น เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า.
  2. ไข่เน่า : น. ชื่อแก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า. (ดู ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า).
  3. ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
  4. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
  5. ได้เสีย : ก. ร่วมประเวณี; ได้เงินเสียเงิน, ได้ผล.
  6. ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  7. เป็นเสียเอง : ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
  8. ผู้เสียหาย : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทํา ผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ตามที่ กฎหมายกําหนด.
  9. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  10. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  11. ว่าสาดเสียเทเสีย : (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย อย่างรุนแรง.
  12. ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
  13. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  14. สั่งเสีย : ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้าน ก็สั่งเสียลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่ จะจากไป, บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
  15. สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
  16. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  17. ไอเสีย : น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่าย ออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย.
  18. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  19. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  20. ไข่เน่า : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทํายาได้.
  21. ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  22. ได้เสียกัน : ก. เป็นผัวเมียกันแล้ว.
  23. ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก : (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
  24. ถั่วเน่า : (ถิ่น–พายัพ) น. ถั่วเหลือง, ถั่วเหลืองที่ทำเป็นเต้าเจี้ยวเป็น แผ่นตากแห้ง.
  25. ท้องเสีย : ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตาม ปรกติทําให้ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
  26. ท่อไอเสีย : น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบาย แก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
  27. ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  28. พื้นเสีย : ก. โกรธ.
  29. เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด : (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง อยู่เลย.
  30. ไม่ได้ไม่เสีย : ว. เสมอตัว, เท่าทุน.
  31. ไม่มีวันเสียละ : (ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.
  32. เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย : ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ ได้บ้าง.
  33. เลี้ยงเสียข้าวสุก : ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
  34. เลือดเสีย : น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น.
  35. หมาหัวเน่า : (สํา) น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับ ใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา.
  36. หัวเสีย : ว. หงุดหงิด, มีอารมณ์โกรธค้างอยู่.
  37. เหน้า : [เน่า] ว. รุ่น, หนุ่ม, สาว, ใช้เข้าคู่กับคำ หนุ่ม เป็น หนุ่มเหน้า หมายถึง กำลังสาว, กำลังหนุ่ม.
  38. หนุ่มเหน้า : [-เน่า] (โบ) ว. กําลังสาว, กําลังหนุ่ม.
  39. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  40. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  41. ปูติ : (แบบ) ว. บูด, เน่า. (ป.).
  42. กระเสีย : [-เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร).
  43. เศียร : [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
  44. นาคู่โค : น. นาที่ได้ทํามาแล้วนาน เป็นนาดี ทําแล้วไม่ใคร่เสีย.
  45. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  46. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  47. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  48. พะเลย : น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
  49. ฟางลอย : น. นาป่าที่เจ้าของได้เสียค่านาตามเนื้อที่ที่ได้ปลูกข้าว เรียกว่า นาฟางลอย, ผิดกับนาคู่โค ซึ่งต้องเสียค่านาเต็มตามโฉนด.
  50. ราพณาสูร ๒ : [ราบพะนาสูน] (ปาก) ว. สูญเรียบ, สูญเสียจนหมดเกลี้ยง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-938

(0.1788 sec)