Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนเวลา, เวลา, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนวลา, ก่อนเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนเวลา, 1246 found, display 1051-1100
  1. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  2. หลอน : [หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพ เช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.
  3. หล่อน้ำมัน : ก. เอาไส้ตะเกียงแช่ในตะเกียงหรือภาชนะที่ขังน้ำมันก๊าดหรือ น้ำมันมะพร้าวไว้เพื่อจุดให้ไส้ติดไฟอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น.
  4. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  5. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  6. หลั่น : ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
  7. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  8. หลาม ๑ : น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมี เส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  9. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  10. หักมุก : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่า กับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.
  11. หักหลัง : ก. ร่วมใจกันมาก่อนแล้วกลับทําร้ายให้ในภายหลัง.
  12. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  13. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  14. หัวค่ำ : น. เวลาแรกมืด, เวลายังไม่ดึก.
  15. หัวงาน : น. เวลาตั้งต้นทํางาน; เนื้อที่นาตรงเริ่มไถหรือคราด; สถานที่เริ่มต้น ทํางาน; (โบ) หัวหน้างาน.
  16. หัวเงื่อน : น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยาย หมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.
  17. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  18. หัวต่อ : น. ที่ซึ่ง ๒ ส่วนมาติดกัน, ระยะตรงที่เวลา ข้อความ หรือเหตุการณ์ ติดเนื่องกัน.
  19. หัวที : น. เวลาแรก, เวลาที่เริ่มทํา, เวลาลงมือ.
  20. หัวปี : ว. ทีแรก, เกิดก่อนเพื่อน, เช่น ลูกคนหัวปี.
  21. หัวไม่วางหางไม่เว้น : (สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้น เขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.
  22. หัวหอก : น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้ หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหา ผู้ก่อการร้าย.
  23. หากว่า : สัน. ถ้าว่า, แม้ว่า, เช่น ฉันจะไปชายทะเลหากว่ามีเวลาว่าง.
  24. หากินตัวเป็นเกลียว : (สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน.
  25. หางกระรอก : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียว เสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
  26. หางนาค : น. ชื่อนกชนิด Megalurus palustris ในวงศ์ Sylviidae ตัวสีนํ้าตาล มีลาย ตลอดทั่วตัว หางยาว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หนองนํ้า ทุ่งนา เวลาบินหาง จะกระดกขึ้นลง.
  27. หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
  28. หาเหตุ : ก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; ข้ออ้าง เช่น เขาหา เหตุลาหยุดงาน.
  29. หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
  30. หุ่นกระบอก : น. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วย ไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอก นั้นเชิด.
  31. หุ้นบุริมสิทธิ : [-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษ เหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ. (อ. preference share).
  32. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  33. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  34. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  35. เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
  36. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  37. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  38. เห่เรือ : น. ทํานองที่ใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค.
  39. เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
  40. เหลือม : [เหฺลือม] น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulatus ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๙ เมตร ที่กลางหัวมีเส้น สีดําซึ่งมักเรียกว่า ศรดํา ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.
  41. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  42. แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
  43. โหมโรง : น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
  44. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  45. ให้ศีล : ก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคน ควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.
  46. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  47. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน : (สํา) ก. อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่า ข้างหน้า.
  48. อดีตกาล, อดีตสมัย : [อะดีดตะกาน, ตะสะไหฺม] น. เวลาที่ล่วงแล้ว.
  49. อดีตชาติ, อดีตภพ : [อะดีดตะชาด, ตะพบ] น. ชาติก่อน, ภพก่อน.
  50. อดีต, อดีต : [อะดีด, อะดีดตะ] ว. ล่วงแล้ว. น. เวลาที่ล่วงแล้ว. (ป., ส. อตีต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1246

(0.1287 sec)