Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนเวลา, เวลา, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนวลา, ก่อนเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนเวลา, 1246 found, display 1101-1150
  1. อนธการ : น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
  2. อนาคต, อนาคต : [อะนาคด, อะนาคดตะ] ว. ยังไม่มาถึง. น. เวลาภายหน้า. (ป., ส.).
  3. อปรภาค : [อะปะระพาก] น. ส่วนอื่นอีก, เวลาอื่นอีก, ภายหลัง. (ป.).
  4. อภิลักขิตกาล, อภิลักขิตสมัย : น. เวลาที่กําหนดไว้, วันกําหนด, (มักนิยมใช้แก่วันทําบุญคล้ายวันเกิดหรือวันทําพิธีประจําปี).
  5. อยู่เวร : ก. ผลัดกันอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดไว้.
  6. อรรธนิศา : [อัดทะนิสา] น. เวลาเที่ยงคืน. (ส.).
  7. อรุณ : น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  8. ออกตัว : ก. พูดกันตัวหรือแก้ตัวไว้ก่อน; ปลดเปลื้องสิ่งที่ตกหนัก แก่ตัว; เริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก (ใช้แก่การแข่งขัน); เอาไปทำผล ประโยชน์ได้ เช่น ซื้อทองดีกว่าเพราะออกตัวได้ง่าย.
  9. อ่อนหู : (กลอน) ก. ยอมเชื่อฟัง เช่น แต่คิดแค้นแม่ยายกับพ่อตา จะทรมาเสียก่อนให้อ่อนหู. (สังข์ทอง).
  10. อังแพลม : [แพฺลม] น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน.
  11. อัจฉรา ๒ : [อัดฉะรา] น. นิ้วมือ; ลัดนิ้วมือหนึ่ง, เวลาประเดี๋ยวเดียว, ชั่วพริบตา. (ป.).
  12. อัญชนะศักราช : น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี (อัญชนะศักราช ลบด้วย ๑๔๗ เท่ากับพุทธศักราช).
  13. อัฐ ๑ : [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
  14. อัตราเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยไม่คํานึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. (อ. speed).
  15. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  16. อันตกาล : น. เวลาตาย. (ส.).
  17. อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  18. อันธการ : น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อนธการ ก็ว่า. (ป.).
  19. อันธิกา : น. กลางคืน, เวลาคํ่า. (ส.).
  20. อาชญาศึก : [อาดยาสึก, อาดชะยาสึก] น. กฎหมายที่ใช้ในเวลาเกิด สงคราม.
  21. อาชญาสิทธิ์ : [อาดยาสิด, อาดชะยาสิด] น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิ ที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น, อาญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็น เครื่องหมาย ซึ่งเรียกว่า พระแสงอาชญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาญาสิทธิ์.
  22. อาญาสิทธิ์ : น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น, อาชญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสง อาญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาชญาสิทธิ์.
  23. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  24. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  25. อายุความ : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ใช้สิทธิ เรียกร้อง บังคับฟ้อง หรือร้องทุกข์.
  26. อ้าวฝน : ว. ร้อนระงมก่อนฝนตก.
  27. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  28. อ่ำ : น. เวลาคํ่า. ว. มืดคลุ้ม, มัว, (กลอน) แผลงเป็น ชอ่ำ หรือ ชรอ่ำ ก็มี.
  29. อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
  30. อิเล็กโทน : น. เครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สามารถทําเสียงเครื่องดนตรี หลายชนิดได้ในเวลาเดียวกัน. (อ. electone).
  31. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  32. อีแอ่น : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae และ Artamidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดํา ปลายปีกแหลม ใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบแมลง มักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) อีแอ่นตะโพกแดง (H. daurica) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล (Cypsiurus balasiensis) ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นํารัง มากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง (Collocalia fuciphaga หรือ Aerodramus fuciphagus)ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก.
  33. อึดใจ : น. เวลาชั่วกลั้นลมหายใจไว้คราวหนึ่ง.
  34. อุตพิด : [อุดตะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Typhonium trilobatum Schott ในวงศ์ Araceae ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ. (ข. อาจม์ + พิษ).
  35. อุทาน ๑ : น. เสียงหรือคําที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคําหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คําอุทาน. (ป., ส.).
  36. อุ่นเครื่อง : ก. เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึงระดับที่เครื่องจะทํางานได้ดี; ออกกําลังกายหรือฝึกซ้อมชั่วขณะก่อนเริ่มการแข่งขัน, ฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันจริง.
  37. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  38. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  39. อุ้ม : ก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก; หอบไป, พาไป, เช่น เมฆอุ้มฝน. น. ชื่อวัยของเด็กก่อนวัยจูง เรียกว่า วัยอุ้ม.
  40. อุษาโยค : น. เวลาใกล้รุ่ง.
  41. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  42. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  43. เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.
  44. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  45. เอ้แอ่น, เอ้ ๆ แอ่น ๆ : ก. ทําให้เสียเวลา, ทําชักช้า, ทําจริตกิริยาโอ้เอ้; อาการที่ยืนโอนไป โอนมา เอนไปเอนมา หรือ เดินถอยหน้าถอยหลัง.
  46. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  47. แอ้ด ๑ : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาว ไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้า เวลาพับปีกจะเห็นเป็นชายห้อยไปคล้ายมีหางคู่ โดยทั่วไปสีดำ ตลอดทั้งตัว เรียกว่า อ้ายแอ้ดชนิดที่พบเป็นสามัญ ได้แก่ ชนิด Acheta confermata, จิ้งหรีดผี ก็เรียก.
  48. โอกาส : [กาด] น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
  49. โอหนอ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงความรําพึงในเวลาดีใจหรือ เสียใจ.
  50. เพลา ๒ : [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1246

(0.1197 sec)