Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนเวลา, เวลา, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนวลา, ก่อนเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนเวลา, 1246 found, display 551-600
  1. เบิกโรง : ก. แสดงก่อนดําเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.
  2. เบิกโลง : ก. ทําพิธีก่อนนําศพลงโลง.
  3. เบิกอรุณ : (แบบ) ว. เช้าตรู่, เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง, (ใช้แก่เวลา).
  4. แบกหน้า : (สํา) ก. จําใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคย ทําไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้า กลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).
  5. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  6. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  7. ปฐมโพธิกาล : [ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลา นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในแคว้นมคธ. (ป.).
  8. ปฐมยาม : [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  9. ปฐมฤกษ์ : [ปะถมมะ-] น. ช่วงเวลาแรกของฤกษ์. ว. เริ่มแรก เช่น ฉบับปฐมฤกษ์.
  10. ปรก ๑ : [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
  11. ประกายพรึก : [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นใน เวลาเช้ามืด, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง. (ข. ผกาย ว่า ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
  12. ประคำ : น. ลูกกลม ๆ ที่ร้อยเป็นพวงสําหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลา บริกรรมภาวนาหรือสําหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่ ทําด้วยทองคําเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  13. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  14. ประจำเมือง : น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวคํ่า, ถ้าเห็นในเวลา เช้ามืด เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.
  15. ประเดี๋ยวเดียว : ว. ชั่วระยะเวลานิดเดียว, เดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  16. ประเดี๋ยวนี้ : ว. เวลานี้, ในเวลานี้, ทันที, เดี๋ยวนี้ ก็ว่า.
  17. ประตูป่า : น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สําหรับ พิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานําศพออกจากบ้าน.
  18. ประทัง : ก. ทําให้ทรงอยู่ได้, ทําให้ดํารงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
  19. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  20. ประภพ : น. การเกิดก่อน; แดน, ที่เกิด. (ส. ปฺรภว).
  21. ประมาท : [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  22. ประวัติการ : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมา แล้วแต่ก่อนตามลําดับสมัย.
  23. ประวิง : ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.
  24. ประสูติกาล : น. เวลาเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติกาล.
  25. ประแอก ๒ : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้าง ผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับ เมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ กระแอก ก็เรียก.
  26. ปรัง : [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทําในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). ว. เกินเวลา, เกินกําหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
  27. ปรัมปรา : [ปะรําปะรา] ว. สืบ ๆ กันมา, เก่าก่อน. (ป., ส.).
  28. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  29. ปลงบริขาร : ก. มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย (ใช้แก่บรรพชิต).
  30. ปล่อยชั่วคราว : (กฎ) ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุม หรือขังชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการ พิจารณาของศาล.
  31. ป่วยกล่าว : ก. เสียเวลาพูด เช่น จะป่วยกล่าวไปไย.
  32. ป่วยการ : ก. เสียงานเสียการ, ไร้ประโยชน์, เช่น ป่วยการพูด. ว. เรียกค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไปว่า ค่าป่วยการ.
  33. ปะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
  34. ปัจจุบัน : น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันที ทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  35. ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
  36. ปัจจุสมัย : [ปัดจุดสะไหฺม] น. เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).
  37. ปัจฉาภัต : น. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป. (ป.).
  38. ปัจฉิมพรรษา : [ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา] น. ''พรรษาหลัง'', ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม + ส. วรฺษ).
  39. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  40. ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
  41. ปากขม : ว. อาการที่รู้สึกขมในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
  42. ปากซ่อม : น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลําตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจําพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตาม ลําพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (Gallinago stenura) ปากซ่อมหางพัด (G. gallinago) ปากซ่อมดง (Scolopax rusticola).
  43. ปากบาตร : น. เรียกของที่ใส่ฝาบาตรถวายพระเวลาตักบาตรว่า ของปากบาตร.
  44. ปากไม่มีหูรูด : ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อน ว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด.
  45. ปากหวาน : ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
  46. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  47. ป่านนี้ : น. เวลาจนกระทั่งบัดนี้ เช่น ป่านนี้ยังไม่มาเลย ป่านนี้เขาไป ถึงไหนแล้ว.
  48. ปิกนิก : น. การพากันไปเที่ยวชั่วระยะเวลาสั้น ๆ และมีของกินไป เลี้ยงกันด้วย. (อ. picnic).
  49. ปิ้ง : ก. ทําให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ มักใช้แก่ของแห้ง โดยปรกติ ใช้เวลาน้อยกว่าย่าง เช่น ปิ้งข้าวเกรียบ ปิ้งเนื้อเค็ม ปิ้งปลาแห้ง. ว. ที่ทําให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง กล้วยปิ้ง หมูปิ้ง.
  50. ปี้ ๑ : (โบ) น. กระเบื้องถ้วยหรือทองเหลืองหรือแก้วทําเป็นเครื่องหมาย สําหรับใช้แทนเงินในบ่อนเบี้ย; ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้ง ก่อนเป็นสําคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ความดี ความชอบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1246

(0.1262 sec)