Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยะ , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยะ, 1330 found, display 251-300
  1. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  2. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  3. สถาปนียพยากรณ์ : [นียะ] น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.
  4. สถาปนียวาที : [นียะ] น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยการนิ่ง.
  5. สถาปัตยกรรมศาสตร์ : [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการ ออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
  6. สถาปัตยเรขา : [สะถาปัดตะยะ] น. แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง.
  7. สถิตยศาสตร์ : [สะถิดตะยะ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทํา ต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).
  8. สมอสำเภา : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
  9. สยนะ : [สะยะ] น. ที่นอน; การนอน. (ป.).
  10. สรภัญญะ : [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. (ป.).
  11. สวนีย : [สะวะนียะ] น. คําที่น่าฟัง, คําไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย).
  12. สักกาย : [กายะ] น. กายของตน. (ป.; ส. สฺวกาย).
  13. สัขยะ : [สักขะยะ] (แบบ) น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
  14. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  15. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  16. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  17. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  18. สั้น : ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
  19. สัมปชัญญะ : [สําปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
  20. สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ : [ปะรายะ, ปะราย, ปะรายิกะ] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
  21. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  22. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  23. หย-, หัย : [หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).
  24. หยำเหยอะ, หยำแหยะ : [หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูด ซ้ำซากน่าเบื่อ.
  25. หฤทัย, หฤทัย- : [หะรึไท, หะรึไทยะ-] น. หัวใจ, ใจ. (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  26. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  27. หายนะ ๒ : [หายะนะ] น. ปี. (ป., ส.).
  28. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  29. หิรัญบัฏ : [หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทาน แก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.
  30. หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
  31. หิรัณยการ : [หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).
  32. หิรัณยเกศ : [หิรันยะเกด] ว. มีผมสีทอง. (ส.).
  33. หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
  34. หิรัณย-, หิรัณย์ : [หิรันยะ-, หิรัน] น. ทองคํา, เงิน. (ส.).
  35. เหยาะแหยะ : [-แหฺยะ] ว. ย่อหย่อน, ทําเป็นเล่น, ไม่เอาจริงเอาจัง, เช่น ทำงานเหยาะแหยะ.
  36. แหยะ, แหยะ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
  37. อดุล, อดุลย, อดุลย์ : [อะดุน, อะดุนละยะ, อะดุน] ว. ชั่งไม่ได้, ไม่มีอะไรเปรียบ, ไม่มีอะไรเท่า. (ป., ส. อตุล, อตุลฺย).
  38. อนัญคติ : [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจําเป็น. (ป. อน?ฺ?คติ).
  39. อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
  40. อนัญ, อนัญ : [อะนัน, อะนันยะ] ว. ไม่ใช่อื่น. (ป. อน?ฺ?).
  41. อนิยม, อนิยม : [อะนิยม, อะนิยะมะ] ว. ไม่มีกําหนด, ไม่ต้องด้วยกฎหรือแบบแผน, ไม่แน่นอน, นอกแบบ. (ป., ส.).
  42. อบายภูมิ : [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
  43. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  44. อบาย, อบาย : [อะบาย, อะบายยะ] น. ที่ที่ปราศจากความเจริญ; ความฉิบหาย. (ป.).
  45. อปจายน : [อะปะจายะนะ] น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม. (ป., ส.).
  46. อภัยทาน : [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน. ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).
  47. อภัยโทษ : [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดี ถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
  48. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  49. อยน : [อะยะนะ] น. ทาง, ถนน, ที่ไป, ที่เดิน; การไป, การถึง. (ป., ส.).
  50. อย, อยัส : [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1093 sec)