Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยะ , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยะ, 1330 found, display 301-350
  1. อริยกะ : [อะริยะ] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของชาวอินเดียบางพวก ชาวอิหร่าน และชาวยุโรปบางพวก, อารยัน ก็ว่า. (ป.).
  2. อริย, อริยะ : [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  3. อวยวะ, อวัยวะ : [อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ใน บทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).
  4. อสัญ : [อะสันยะ] ว. ไม่รู้สึกตัว, สิ้นสติ. (ป. อส?ฺ?).
  5. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  6. อัจฉริย, อัจฉริยะ : [อัดฉะริยะ] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).
  7. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  8. อัญมัญ : [อันยะมันยะ] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อ?ฺ?มญฺ?).
  9. อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  10. อัญ, อัญญะ : [อันยะ] ว. อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺ?; ส. อนฺย).
  11. อันวย, อันวัย : [อันวะยะ] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).
  12. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  13. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  14. อาครหายณี : [อาคฺระหายะนี] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวมิคสิระ ก็เรียก. (ส.).
  15. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  16. อารย, อารยะ : [อาระยะ] ว. เจริญ. (ส.; ป. อริย).
  17. อารัญญิก, อารัณยกะ ๑ : [รันยิก, รันยะกะ] ว. เกี่ยวกับป่า, เกิดในป่า, มีในป่า. (ป. อาร?ฺ??ก; ส. อารณฺยก).
  18. อารัณยกะ ๒ : [รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหา ไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.
  19. อำมาตย, อำมาตย์ : [อำหฺมาดตะยะ, อำหฺมาด] น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์. (ส. อมาตฺย; ป. อมจฺจ).
  20. อินทรีย, อินทรีย์ : [ซียะ, ซี] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สํารวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
  21. อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
  22. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
  23. อุปัชฌาย, อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ : [อุปัดชายะ, อุบปัดชายะ, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็น ประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).
  24. ไอศุริย : [ริยะ] น. ไอศวรรย์.
  25. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  26. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  27. กฤดยาเกียรณ : [กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
  28. ยาเขียว ๑ : ดูใน ยา.
  29. ยาจนะ, ยาจนา : [ยาจะนะ, ยาจะนา] น. การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. (ป., ส.).
  30. ยากันยุง : น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด.
  31. ยาขับเลือด : น. ยากินเพื่อขับระดู.
  32. ยาขี้ผึ้ง : น. ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น.
  33. ยาเขียว ๑ : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  34. ยาเคี้ยว : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
  35. ยาชา : น. ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น.
  36. ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  37. ยาถ่าย : น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
  38. ยาบำรุงเลือด : น. ยาบำรุงให้เลือดงาม.
  39. ยาเบื่อ : น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย.
  40. ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  41. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  42. ยาประสะน้ำนม : น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก.
  43. ยาเป่า : น. ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ.
  44. ยาโป๊ : น. ยาชูกำลังให้กระชุ่มกระชวยเหมือนเป็นหนุ่มสาวขึ้น.
  45. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  46. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  47. ยาฝิ่น : น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากยางฝิ่น.
  48. ยามา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุ มหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
  49. ยาระบาย : น. ยาถ่ายอย่างอ่อน.
  50. ยารุ : น. ยาถ่ายอย่างแรง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1017 sec)