Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยามา , then ยะมะ, ยาม, ยามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยามา, 97 found, display 51-97
  1. คู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและ ยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย).
  2. ฆ้องกระแต : น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดย ทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่ง มีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณ ในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
  3. จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
  4. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  5. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  6. ซ้อมซัก : (โบ) ก. ซักซ้อม; (กลอน) ทุบตี เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำ เขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  7. ถุงย่าม : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหู หรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ย่าม ก็ว่า.
  8. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  9. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  10. ธรรมนิยา : ม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
  11. นันทนาการ : [นันทะ] น. กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ. (อ. recreation).
  12. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  13. ประเดี๋ยวประด๋าว : ว. ชั่วครู่ชั่วยาม.
  14. ป้อมบังคับการ : (โบ) น. ที่ซึ่งมีที่กําบังแข็งแรงสําหรับใช้ในการ ควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม.
  15. ผลัด : [ผฺลัด] ก. เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน. น. ลักษณนามเรียกการผลัดเปลี่ยนเวรยาม เช่น เปลี่ยนเวรวันละ ๓ ผลัด.
  16. ผลัดเปลี่ยน : ก. ผลัดกันประจําหน้าที่ เช่น ผลัดเปลี่ยนเวรยาม.
  17. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น : (สํา) ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ก็มี.
  18. พยาม, พยามะ : [พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).
  19. พยายาม : [พะยา] ก. ทําโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
  20. พระมาลัยมาโปรด : (สํา) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กําลังตกทุกข์ ได้ยากได้ทันท่วงที.
  21. เพชรฤกษ์ : [เพ็ดชะ] น. ยามแข็งแรง.
  22. เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยาม สุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่ คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า.
  23. เพื่อนยาก : น. เพื่อนในยามทุกข์ยาก, เพื่อนร่วมทุกข์ยาก.
  24. มหุดิฤกษ์ : น. ฤกษ์ดี, ยามดี.
  25. ยมขันธ์ : น. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล.
  26. ยามะ : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).
  27. ยามิก : น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
  28. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  29. ยืนยาม : ก. ยืนเฝ้ายาม.
  30. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  31. รักษาการณ์ : ก. เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา. ว. ที่เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ทหารรักษาการณ์ ยามรักษาการณ์.
  32. รูปเงา : (ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูป ที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
  33. วยามะ : น. มาตราวัด ยาวเท่ากับ ๑ วา. (ป. วฺยาม, พฺยาม; ส. วฺยาม).
  34. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  35. วายามะ : น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
  36. วิกาล, วิกาล : [วิกาน, วิกานละ] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้า บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ วินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหาร ในเวลาวิกาล. (ป.).
  37. ศยาม : [สะหฺยาม] ว. ดํา, คลํ้า. (ส.).
  38. ศึกเสือเหนือใต้ : (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
  39. สงัด : [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบ เพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  40. สยามรัฐ : [สะหฺยามมะ] น. แคว้นไทย, ประเทศไทย.
  41. สยาม, สยาม : [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
  42. ยามานุสติ : [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึง ประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  43. สะพานเดินเรือ : น. พื้นที่ยกสูงขึ้นจากดาดฟ้าเรือ สําหรับนายเรือหรือ นายยามเรือเดิน หรือสําหรับต้นหน กัปตันเรือ หรือผู้บังคับการเรือ ควบคุมและสั่งการเกี่ยวกับการนําเรือในน่านนํ้าให้ปลอดภัย, (โบ) สะพานเดินเรือใช้เป็นหอบังคับการด้วย.
  44. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  45. อุยยาม : น. ความหมั่น, ความบากบั่น, ความขยันขันแข็ง. (ป.; ส. อุทฺยาม).
  46. เอาน้ำลูบท้อง : (สํา) ก. อดทนในยามยากโดยกินน้ำแทนข้าว.
  47. 1-50 | [51-97]

(0.0514 sec)