Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รุ่งเช้า, เช้า, รุ่ง , then ชา, เช้า, รง, รงชา, รุ่ง, รุ่งเช้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รุ่งเช้า, 325 found, display 51-100
  1. ข้าวสาก : (ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพ และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.
  2. ไขว้โรง : ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
  3. คร่ำเคร่ง : ว. หมกมุ่นในการทํางานเป็นต้นอย่างหามรุ่งหามคํ่า.
  4. คืน ๑ : น. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, เวลากลางคืน. คืนยังรุ่ง ว. ตลอดคืน.
  5. งาย : น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสํารับไม่ยกมา. (ขุนช้างขุนแผน).
  6. จาก ๒ : ก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คํานําหน้านาม บอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่ เช่น จากเช้าจดคํ่า.
  7. ชระมัว : [ชฺระ] (กลอน) ว. ขมุกขมัว, ยังไม่สว่าง, เช้าตรู่, มืด, เช่น ชระมัวทั่วทิศเอียง อากาศ. (นิ. นรินทร์).
  8. ชา ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็น เครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดใน หลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยม ปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
  9. ชา ๒ : ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึก ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
  10. ชา ๔ : ก. หมายไว้, กําหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณ ส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคํา กฎ เป็น กําหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบ เรือชา. (สมุทรโฆษ).
  11. ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
  12. ชา ๖ : ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
  13. ต้นตายใบเป็น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Kalanchoe pinnata Pers. ในวงศ์ Crassulaceae, คว่ำตายหงายเป็น โคนตายปลายเป็น หรือ ส้มเช้า ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะเร.
  14. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  15. ตอน : น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้า สายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศ ไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดิน พอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้วตัดกิ่งออก จากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
  16. ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  17. ทินาท : (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
  18. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  19. บวช ๒ : (ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทําอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้า บวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
  20. บานเช้า : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Turnera วงศ์ Turneraceae ดอกบาน เวลาเช้า ชนิด T. subulata G.E. Smith ดอกสีนวล ชนิด T. ulmifolia L. ดอกสีเหลืองอ่อน.
  21. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  22. เบิกอรุณ : (แบบ) ว. เช้าตรู่, เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง, (ใช้แก่เวลา).
  23. ประฮาม : น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. (ข. พฺรหาม).
  24. ปะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
  25. ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
  26. ปัจจุสมัย : [ปัดจุดสะไหฺม] น. เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).
  27. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  28. พระหาม, พระฮาม : (กลอน) น. เวลาเช้ามืด. (ข. พฺรหาม).
  29. พรุก : น. วันพรุ่งนี้, รุ่งขึ้น.
  30. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  31. เพรางาย : น. เวลาเช้า; มื้อเช้า.
  32. เพลงสาธุการ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงใน พิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุด โหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
  33. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  34. เมื่อ : น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
  35. โมง ๑ : น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
  36. ยามพาด : (ถิ่น) น. เวลาเช้า.
  37. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  38. ยาวกาลิก : [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.).
  39. ยุกดิ, ยุกติ : (แบบ; กลอน) ก. ชอบ เช่น รุ่งนั้นธก็เสด็จโดยอุตราภิมุข ดําเนอรยุกติ ยูรยาตร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ยุกฺติ; ป. ยุตฺติ).
  40. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  41. รอบ : น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์ รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนาม เรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการ ที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.
  42. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  43. รุ่งอรุณ : น. เวลาเช้าตรู่ที่เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
  44. ลมตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
  45. ลำพู่กัน : น. เรียกสิ่งที่ปรากฏเป็นลําขาวไปในท้องฟ้าเวลาเช้าหรือ เย็นถือว่าเป็นลางบอกเหตุ.
  46. เล้ง : (ปาก) ก. ขึ้นเสียงดัง เช่น เมื่อเช้าถูกเจ้านายเล้ง.
  47. เล่นงาน : ก. กระทำเอา (มักใช้ในทางไม่ดี เช่นถูกดุด่าว่ากล่าว ทำร้าย เป็นต้น) เช่น ไข้ป่าเล่นงานเสียงอมแงม เจ้านายเล่นงาน ลูกน้องแต่เช้า ถูกเขาเล่นงานจนอาน.
  48. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  49. วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  50. ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-325

(0.0885 sec)