Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รุ่ง , then รง, รุ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รุ่ง, 137 found, display 101-137
  1. ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
  2. ทองตะโก : น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบน แผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
  3. ทะนุบำรุง : ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทะนุบํารุงบิดามารดา ทะนุบํารุง บุตรธิดา, ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทะนุบํารุงวัด, ธํารงรักษาไว้ เช่น ทะนุบํารุงศาสนา ทะนุบํารุงบ้านเมือง, ทํานุบํารุง ก็ว่า.
  4. ทะเลทราย : น. อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่เต็มไปด้วยทราย มีอากาศ หนาวจัดหรือร้อนจัด ยากแก่การดํารงชีวิต มีพืชขึ้นอยู่น้อยมาก.
  5. ทำนุบำรุง : ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทํานุบํารุงบิดามารดา ทํานุบํารุงบุตรธิดา, ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทํานุบํารุงวัด, ธํารงรักษาไว้ เช่น ทํานุบํารุงศาสนา ทํานุบํารุง บ้านเมือง, ทะนุบํารุง ก็ว่า.
  6. ทุนสำรองเงินตรา : (กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
  7. ธรง : [ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง).
  8. ธรมาน : [ทอระมาน] (แบบ) ว. ยังดํารงชีวิตอยู่. (ป.).
  9. ธำมรงค์ : [ทํามะรง] (ราชา) น. แหวน. (เทียบ ข. ทํรง่).
  10. บัญจรงค์ : [บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึก วัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).
  11. บุหรง : [-หฺรง] น. นก, นกยูง. (ช.).
  12. เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
  13. ประทัง : ก. ทําให้ทรงอยู่ได้, ทําให้ดํารงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
  14. ปากเป็ด ๒ : น. ชื่องูหลามชนิด Python curtus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้น สีแดงหรือส้ม มีลายดําและเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดิน หากิน ตามพื้นดิน ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ พบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมาเลเซีย ไม่มีพิษ.
  15. เปรียง ๒ : [เปฺรียง] น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สําหรับนํ้ามันไขข้อของวัว. (ข. เปฺรง).
  16. แปรง : [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ ขึ้นบนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
  17. โปรง : [โปฺรง] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Ceriops วงศ์ Rhizophoraceae ใช้ทําฟืนและถ่านชนิดดี คือ โปรงขาว (C. decandra Ding Hou) และ โปรงแดง [C. tagal (L.M. Perry) C.B. Robinson].
  18. พงศธร : [สะทอน] น. ผู้ดํารงวงศ์สกุล, ผู้สืบสกุล. (ส.).
  19. พ่ะย่ะค่ะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ เจ้าฟ้า.
  20. พุทธกาล : น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย, ก็ใช้ (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดํารงอยู่ ๕,๐๐๐ ปี. (ป.).
  21. เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
  22. โพรง : [โพฺรง] น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก.
  23. แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
  24. โมเลกุล : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดํารงอยู่ได้ตามลําพัง และทั้งยังคงรักษา สมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ, เดิมเรียกว่า อณู. (อ. molecule).
  25. ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  26. ยิปซี : น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้า ไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการ เล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
  27. ระไว : ก. คอยระวัง เช่น อยู่ระไวต่างองค์ ดํารงรั้งรักษา. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ระวัง เป็น ระวังระไว.
  28. วรงค์ : [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค).
  29. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  30. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  31. สร้าวเสียว : [ส้าว] ก. เร่ง; เตือนใจ.
  32. หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  33. เหลือง ๑ : [เหฺลือง] ว. สีอย่างสีรงทองหรือขมิ้น.
  34. โหรง, โหรงเหรง : [โหฺรง, โหฺรงเหฺรง] ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา, คนดูโหรงเหรง, โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
  35. อยู่กิน : ก. ดํารงชีวิตฉันผัวเมีย.
  36. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  37. 1-50 | 51-100 | [101-137]

(0.0453 sec)