Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รุ่ง , then รง, รุ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รุ่ง, 137 found, display 51-100
  1. แร่ง ๒ : น. ที่วางศพหามศพรูปอย่างแคร่.
  2. รงค–, รงค์ : [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกําหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรํา, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).
  3. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  4. กรสานต์ : [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
  5. กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
  6. กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  7. กระสานติ์ : (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตร ให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
  8. กะโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือ ฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้าย กระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะ เย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้สำหรับใส่ของต่าง ๆ; กระโปรง ก็ใช้.
  9. เก่น : ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  10. เกรง : [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
  11. โกรง : [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง. (สุบิน).
  12. โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
  13. ขิงแกลง, ขิงแครง : [-แกฺลง, -แคฺรง] ดู ขิง.
  14. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  15. ครองแครง : [คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้าย ฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
  16. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  17. ค่าครองชีพ : น. ค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ.
  18. ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
  19. ค้ำจุน : ก. อุดหนุนให้ดํารงอยู่ได้.
  20. เครง, เครงครา : [เคฺรง, -คฺรา] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น หนึ่งกล้วยออกเครือเครงครา กลางลํามายา. (อภิไธยโพธิบาทว์).
  21. แครง ๑ : [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Anadara granosa ในวงศ์ Arcidae ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีโคลน ปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้าใช้วิดนํ้าใน สวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
  22. แครง ๒ : [แคฺรง] น. ชื่อขิงในหมวดจตุทิพยคันธา เรียกว่า ขิงแครง. (ดู จตุทิพยคันธา ใน จตุ-).
  23. แครง ๓ : [แคฺรง] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น อย่างแครงครวญ. (กล่อมช้างของเก่า), สงครามแครง ฟ้งเฟือด. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  24. แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
  25. โครง : [โคฺรง] น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว.
  26. จดุรงค์ : [จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).
  27. จตุรงค์ : ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
  28. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  29. จตุรงคพล : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
  30. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  31. จตุรงคโยธา : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา).
  32. จตุรงคเสนา : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  33. จตุรงคินีเสนา : [จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  34. จัตุรงคพล : [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  35. จัตุรงคินีเสนา : [จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  36. จาตุรงค-, จาตุรงค์ : [-ตุรงคะ-] ว. มีองค์ ๔, มีส่วน ๔. (ป. จาตุร + องฺค).
  37. แจรง : [แจฺรง] (กลอน) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งาม เงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
  38. ชงโลง ๑ : น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวน เข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น–อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง). (รูปภาพ ชงโลง)
  39. แชรง : [แชฺรง] (โบ) ก. แซง.
  40. แซด ๆ : ก. อาการที่เซส่ายไปส่ายมาทรงตัวไม่อยู่ เช่น เซแซด ๆ.
  41. ฐายี : (แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดํารงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).
  42. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  43. ดำรง : ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลง มาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
  44. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  45. ตรีฉินทลามกา : [-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง.
  46. ตรีเพชรสมคุณ : [-เพ็ดสะมะคุน] น. คุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง.
  47. ตะแกรง : [-แกฺรง] น. ภาชนะสานรูปแบน ขอบกลม มีตาห่าง สําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อน กุ้งปลาเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะแกรงหน้าหัวรถจักร.
  48. ตะโกรง : [-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความอยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).
  49. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  50. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-137

(0.0422 sec)