Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลัง , then ลง, ลํ, ลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลัง, 1471 found, display 1251-1300
  1. แล้ว : ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กิน แล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
  2. แล้วก็แล้วไป : ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์ สิ้นสุดหรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
  3. โลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอกดีใจ เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
  4. ไล่ออก : ก. คัดชื่อออกจากทะเบียน เช่น ไล่ออกจากโรงเรียน, ให้ ออกจากราชการหรือวงการเพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ไล่ออกจากราชการ ไล่ออกจากงาน. (กฎ) น. โทษทางวินัย สถานหนักที่สุดที่ใช้ลงแก่ข้าราชการ ผู้กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการและไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ.
  5. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  6. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  7. วัฏจักร : น. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและดําเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
  8. วัดพื้น : (ปาก) ก. หกล้มเหยียดยาวลงบนพื้น.
  9. วันอุโบสถ : น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาด ก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็น วันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
  10. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  11. วางเบ็ด, วางเบ็ดราว : ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลง ในแม่น้ำลำคลอง.
  12. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  13. ว่าไม่ได้ : (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้.
  14. วายุบุตรยาตรา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  15. ว้าเหว่ : ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
  16. วิชาโท : น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งรองลงมาจากวิชาเอก. (อ. minor course).
  17. วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
  18. วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  19. วิสัญญี : ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  20. โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
  21. ไวกูณฐ์ : น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  22. ไว้ตัว : ก. สงวนฐานะและเกียรติยศของตนให้เหมาะให้ควร เช่น แม้จะยากจนลงก็ต้องไว้ตัวอยู่ เป็นสตรีควรไว้ตัว, ถือตัว เช่น ไว้ตัว ว่าเป็นลูกเศรษฐี ไม่คบคนทั่วไป.
  23. ศรีสังคีต : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  24. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  25. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  26. ศิลป์ไม่กินกัน. : (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สํา) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใด ต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
  27. ศีลล้างบาป : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
  28. ศูนย์ถ่วง : น. จุดซึ่งถือว่าแนวน้ำหนักของวัตถุผ่านลงที่จุดนั้น เช่น ตุ๊กตาล้มลุกมีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ.
  29. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  30. โศก ๑, โศก : [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป.โสก).
  31. สกี : น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕๒.๔ เมตร มีที่ สําหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบน แผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดย มีไม้คู่หนึ่งสําหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
  32. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  33. สงบ : [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์ สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร ผู้ร้าย.
  34. ส้น : น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
  35. สนธิอลงกต : [อะลงกด] น. โคลงนาคพันธ์.
  36. สนามบิน : น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.
  37. สนุกเกอร์ : [สะนุก] น. ชื่อกีฬาในร่มชนิดหนึ่งเล่นบนโต๊ะบิลเลียด ผู้เล่นใช้ไม้ แทงลูกเรียกว่า ไม้คิว แทงลูกกลมสีขาวให้กระทบลูกกลมสีต่าง ๆ ซึ่งมีลูกแดง ๑๕ ลูก ลูกดํา ชมพู นํ้าเงิน นํ้าตาล เขียว และเหลือง อีก อย่างละ ๑ ลูก ให้ลงหลุมทีละลูกตามที่กําหนดไว้ในกติกา หรือทําให้ คู่ต่อสู้ไม่สามารถแทงลูกสีขาวให้กระทบกับลูกที่ต้องถูกกระทบได้ ซึ่งเรียกว่า ทําสนุก. (อ. snooker).
  38. สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
  39. สมอ ๑ : [สะหฺมอ] น. หิน. (ข. ถฺม); ของหนักที่ล่ามโซ่หรือเชือกอยู่กับเรือ เวลาจอดเรือใช้ทอดลงไปในนํ้าให้เกาะพื้นเพื่อไม่ให้เรือเคลื่อนไปที่อื่น.
  40. สมองฝ่อ : น. เนื้อสมองน้อยลงเนื่องจากมีการเสื่อมสลายของเซลล์ ประสาทและเนื้อเยื่อของสมองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. cerebral atrophy).
  41. สมิงทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  42. สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
  43. สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
  44. สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).
  45. สร้อยทะแย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  46. สร้อยระย้า ๑ : น. ชื่อตุ้มหูชนิดหนึ่งที่มีระย้าห้อยลงมา.
  47. สร้อยระย้า ๒ : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง.
  48. สร้อยสน : น. สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  49. สลวย : [สะหฺลวย] ว. ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว และมีปลาย ช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย.
  50. สลัก ๑ : [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้น หรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อน หรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1471

(0.1015 sec)