Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลัง , then ลง, ลํ, ลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลัง, 1471 found, display 251-300
  1. อ่อนปวกเปียก, อ่อนเปียก : ว. หย่อนกําลังจนทําอะไรไม่ไหว; ไม่ขึงขัง.
  2. อ่อนแอ : ว. มีกําลังน้อย, ไม่แข็งแรง, ไม่เข้มแข็ง.
  3. อัพพุท : น. ชื่อสังขยาจํานวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือ โกฏิยกกําลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
  4. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  5. อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
  6. อุ่นเครื่อง : ก. เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึงระดับที่เครื่องจะทํางานได้ดี; ออกกําลังกายหรือฝึกซ้อมชั่วขณะก่อนเริ่มการแข่งขัน, ฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันจริง.
  7. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  8. เอาใจช่วย : ก. อยากให้สมปรารถนา, ช่วยเป็นกําลังใจให้.
  9. แอ้งแม้ง : (ปาก) ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เพราะหมดกําลังเป็นต้น ในคำว่า นอนแอ้งแม้ง.
  10. แอ้ด ๓, แอ้ด ๆ : ว. เรียกอาการที่หนักเต็มกําลังว่า หนักเต็มแอ้ด; เรียกอาการจุก จนพูดไม่ออกว่า จุกแอ้ด ๆ.
  11. แอ้วแซ่ว : ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะ ที่หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแอ้วแซ่ว, แซ่ว ก็ว่า.
  12. ไอพ่น : น. ชื่อเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งเผาเชื้อเพลิงให้เป็นแก๊สพุ่ง ออกมาตามท่อด้วยความดันสูงมาก ทําให้เกิดพลังขับเคลื่อนได้, เรียกเครื่องบินที่ใช้กําลังด้วยเครื่องยนต์เช่นนั้นว่า เครื่องบินไอพ่น.
  13. ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
  14. ลงกระหม่อม : ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยง คงกระพันเป็นต้น.
  15. ลงโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
  16. ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  17. ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
  18. ลงจอบ : ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
  19. ลงดาบ : ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
  20. ลงถม : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
  21. ลงถมยาสี : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสี ต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
  22. ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
  23. ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
  24. ลงโบสถ์ : ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
  25. ลงพระบังคน : (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
  26. ลงมติ : ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  27. ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
  28. ลงศอก : ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอก ยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
  29. ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
  30. ลงหัว : ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
  31. ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
  32. ลงเข็ม : ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม ก็ว่า.
  33. ลงความเห็น : ก. มีความเห็นร่วมกัน.
  34. ลงทัณฑ์ : (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
  35. ลงนาม : ก. ลงชื่อ.
  36. ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.
  37. ลงปฏัก, ลงประตัก : ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น เพื่อให้หลาบจำ.
  38. ลงไม้ : ก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้.
  39. ลงรอย, ลงรอยกัน : ก. เข้ากันได้.
  40. ลงเรือลำเดียวกัน : (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำ ด้วยกัน.
  41. ลงเวลา : ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
  42. ลงส้น : ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
  43. ลงสิ่ว : ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วน ที่ต้องการ.
  44. ลงสี : ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ.
  45. ลงเส้น : ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ.
  46. ลงหญ้าช้าง : น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
  47. ลงหลักปักฐาน : (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
  48. ลันโทม : ก. น้อมลง, ก้มลง. (ข. ลํโทน).
  49. ควักลงหลุม : น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ดีดเบี้ยลงหลุม.
  50. แคลงคลาง : [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้ เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1471

(0.1113 sec)