Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลัง , then ลง, ลํ, ลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลัง, 1471 found, display 801-850
  1. นบนอบ : ก. น้อมกายลงไหว้, นอบนบ ก็ว่า.
  2. นมผง : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนํานํ้านมวัวไปผ่านกรรมวิธี ซึ่งทําให้ส่วนที่เป็นนํ้าระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้.
  3. นมผา : น. หินงอกหรือหินย้อยซึ่งเกิดจากคราบหินปูนที่ย้อยลงมาจาก เพดานถํ้า มีสีนวลอ่อนคล้ายนํ้านม เมื่อต้องแสงจะมีประกายแวววาว
  4. นเรศวร์ชนช้าง : [นะเรด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  5. นวยนาด : ก. เยื้องกราย, กรีดกราย; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  6. นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
  7. นอบ : ก. น้อม, หมอบย่อลง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น นบนอบ นอบน้อม.
  8. นอบนบ : ก. น้อมกายลงไหว้, นบนอบ ก็ว่า.
  9. นอบน้อม : ก. อาการแสดงความเคารพอย่างสูง เช่น นอบน้อม พระ รัตนตรัย, อาการที่ยอบตัวลงแสดงความเคารพอยู่ในที.
  10. น้อม : ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็น การแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
  11. นักโทษ : น. บุคคลซึ่งถูกลงโทษจําคุก.
  12. นั่งขัดสมาธิ : [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
  13. นั่งคุกเข่า : ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
  14. นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  15. นาครวย : [นากรวย] น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจาก อกไก่ถึงแปหาญทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน.
  16. นาคราช ๑ : [นากคะ] น. พญางู; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  17. นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
  18. นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
  19. นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  20. นาง ๓ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองต่าง ๆ ที่มีคําว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  21. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  22. นาบ : ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง เอา เหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.
  23. นาบข้าว : ก. เอาไม้ยาวกดต้นข้าวให้ราบลงเพื่อเกี่ยว.
  24. นามาภิไธย : น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินีสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
  25. น้าว : ก. เหนี่ยวลง เช่น น้าวกิ่ง, ดึงจนโค้ง เช่น น้าวศร.
  26. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  27. นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  28. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  29. น้ำชน : น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมา บรรจบกัน.
  30. น้ำชุบ : น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับ ชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอา เหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) นํ้าพริก. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (สํา) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิง เตือนสติ.
  31. น้ำตาย : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์ กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕–๙ คํ่า.
  32. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  33. น้ำนอนคลอง : น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะ มีนํ้าหนุนขึ้นมา.
  34. น้ำป่า : น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่าง รวดเร็ว.
  35. น้ำลง : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าตํ่าลง ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะลง ๒ ครั้ง และนํ้าลงครั้งแรกจะมีระดับตํ่ากว่าลง ครั้งที่ ๒.
  36. น้ำอาบงัว : น. นํ้าฝนที่ตกชะดินไหลลงมา มีสีเหลืองเข้ม.
  37. นิติกรรม : (กฎ) น. การใด ๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจ สมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
  38. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  39. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  40. เนือย, เนือย ๆ : ว. เฉื่อย, ช้าลง, อ่อนลง, เช่น ดูเนือยลงไป นํ้าไหลเนือย ๆ; ไม่กระปรี้ กระเปร่า เช่น ทํางานเนือย ๆ, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
  41. โน้ม : ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.
  42. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  43. บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  44. บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
  45. บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
  46. บรรณาธิการ : [บันนาทิกาน] น. ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์; (กฎ) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทํา ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.
  47. บรรทุก : [บัน-] ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้าย ไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้ โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น
  48. บรรเทา : [บัน-] ก. ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
  49. บริโภค : [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  50. บหลิ่ม : [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1471

(0.1097 sec)