Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพลงกล่อมเด็ก, กล่อม, เพลง, เด็ก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพลงกล่อมเด็ก, 675 found, display 651-675
  1. อ้อแอ้ : ว. อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการพูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  2. อัตรา : [อัดตฺรา] น. ระดับที่กําหนดไว้, จํานวนที่จํากัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจําตามกําหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติ ร. ๓).
  3. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  4. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  5. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  6. อึ : (ปาก) ก. ถ่ายอุจจาระ (มักใช้แก่เด็ก). น. ขี้, อุจจาระ.
  7. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  8. อุ้ม : ก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก; หอบไป, พาไป, เช่น เมฆอุ้มฝน. น. ชื่อวัยของเด็กก่อนวัยจูง เรียกว่า วัยอุ้ม.
  9. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  10. อู่ : น. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สําหรับเก็บเรือหรือซุง.
  11. เอ้อระเหย : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย. น. คําขึ้นต้นเพลงพวงมาลัย.
  12. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  13. เอาไม่อยู่ : ก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมาก จนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้ พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.
  14. เอาอยู่ : ว. เอาการ, เอาเรื่อง, เช่น ระยะทางไกลเอาอยู่, ถ้าใช้ใน ลักษณะปรารภเชิงขอความเห็นหรือแสดงความหนักใจเป็นต้น มักใช้ว่า เอาอยู่นะ เช่น ปัญหานี้ยากเอาอยู่นะ. ก. ปกครองได้, ควบคุมได้, เช่น เด็กคนนี้เกเรมาก คิดว่าจะเอาอยู่ไหม.
  15. เอี๊ยม : น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. (ดู เต่า๒). (จ.). (รูปภาพ เอี๊ยม)
  16. เอื้อ : ก. เอาใจใส่, มีนํ้าใจ, เช่น เอื้อแก่กัน, เห็นแก่ เช่น ทำกับข้าวเผ็ด ไม่เอื้อเด็ก ๆ.
  17. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  18. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  19. โอ๋ : อ. คําที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเช่นนั้นเพื่อปลอบเด็ก. ก. ตามใจ, เอาอกเอาใจ.
  20. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  21. โอด : น. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไป โดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.
  22. โอ้โลมปฏิโลม : (ปาก) ก. พูดเอาอกเอาใจ, พูดเกลี้ยกล่อม.
  23. ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
  24. ไอกรน : น. โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบในเด็กที่มีไข้ ไอมาก และมักมีเสียงเกิดจากการหายใจที่ลําบากตามหลังอาการไอ.
  25. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-675]

(0.0361 sec)