Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพลงกล่อมเด็ก, กล่อม, เพลง, เด็ก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพลงกล่อมเด็ก, 675 found, display 601-650
  1. หรอย ๆ : ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).
  2. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  3. หลอน : [หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพ เช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.
  4. หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  5. หลุน ๆ : ว. เร็ว ๆเช่น ก้อนหินตกจากยอดเขากลิ้งหลุน ๆ ลงมา เด็กวิ่งหลุน ๆ หัวซุกหัวซุน.
  6. หวงตัว : ก. รักนวลสงวนตัว เช่น เป็นลูกผู้หญิงต้องรู้จักหวงตัว, ไม่ยอม ให้ถูกเนื้อต้องตัว เช่น เด็กคนนี้หวงตัว ไม่ยอมให้คนแปลกหน้าอุ้ม.
  7. หวาก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, ว้าก ก็ว่า.
  8. หัว ๒ : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  9. หัวแข็ง ๑ : ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความคิด.
  10. หัวจุก : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก.
  11. หัวดี : ว. เฉลียวฉลาดรอบคอบ เช่น เด็กคนนี้หัวดี ปีนี้ต้องสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่.
  12. หัวดื้อ : ว. ว่ายากสอนยาก เช่น เด็กคนนี้หัวดื้อจริง, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำ ตามใครง่าย ๆ เช่น ผู้ใหญ่บางคนก็หัวดื้อ.
  13. หัวทึบ : ว. โง่มาก เช่น เด็กคนนี้หัวทึบ สอนอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ.
  14. หัวนม : น. อวัยวะส่วนที่อยู่ตอนยอดของนมมนุษย์หรือสัตว์; ของที่ทําด้วย ยางเป็นต้น มีรูปคล้ายหัวนม สําหรับสวมขวดบรรจุนํ้านมหรือนํ้าเป็นต้น เพื่อให้เด็กดูด; นํ้านมที่มีครีมมากจนข้น.
  15. หัวสมอง : (ปาก) น. ปัญญาความคิด เช่น เด็กคนนี้มีหัวสมองดี, สมอง ก็ว่า.
  16. หัวหกก้นขวิด : (สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจ ใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตาม ความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
  17. หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
  18. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  19. หางเครื่อง : น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคล ที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.
  20. หางจิ้งเหลน : [-เหฺลน] น. ผมของเด็กที่เอาไว้ที่ท้ายทอยเล็กกว่าผมเปีย.
  21. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  22. เห็นดี : ก. เห็นประจักษ์ในอำนาจ (มักใช้ในการขู่เด็กหรือผู้น้อย) เช่น เดี๋ยวก็ได้เห็นดีหรอก.
  23. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  24. เหลียวแล : ก. เอาใจใส่ดูแล เช่น พ่อแม่แก่แล้วต้องเหลียวแลท่านให้มาก เด็กคนนี้ไม่มีใครเหลียวแลเลย.
  25. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  26. แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
  27. แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
  28. แหย็ม : (ปาก) ก. เข้าไปยุ่งด้วยโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของผู้ใหญ่ เด็กอย่างเราอย่าไปแหย็ม.
  29. แหวะ : [แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา; อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
  30. โหมโรง : น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
  31. โหยกเหยก : [โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ โยเยโหยกเหยกจริง.
  32. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  33. ไหนจะ : ว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  34. อกทะเล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.
  35. อดนม : ก. เลิกกินนมแม่ (ใช้แก่เด็กและลูกสัตว์), หย่านม ก็ว่า.
  36. อนงคเลข, อนงคเลขา : น. จดหมายรัก, เพลงยาว.
  37. อนุบท : น. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).
  38. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  39. อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
  40. อมต, อมตะ : [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
  41. อมมือ : ว. ไม่เดียงสา (ใช้แก่เด็ก) ในคําว่า เด็กอมมือ.
  42. อยู่อัตรา : (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติ อยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
  43. อสิจรรยาการ : น. การฝึกหัดเพลงดาบ, การฝึกหัดเพลงศัสตรา. (ส. อสิจรฺยาการ).
  44. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  45. ออกซุ้ม : ก. บรรเลงทำนองเพลงสำเนียงลาวต่อท้ายเพลงเดี่ยว ลาวแพนโดยเฉพาะ.
  46. ออกภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
  47. ออกลูกหมด : ก. เปลี่ยนการบรรเลงเพลงธรรมดาไปเป็น เพลงลูกหมด. (ดู ลูกหมด ที่ ลูก).
  48. ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
  49. อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
  50. อ้อน : ก. พรํ่าร้องขอ, ร้องสําออย, อาการร้องไห้อย่างเด็กอ่อน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-675

(0.0411 sec)