Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพลงกล่อมเด็ก, กล่อม, เพลง, เด็ก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพลงกล่อมเด็ก, 675 found, display 101-150
  1. กระทุ้ง : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  2. กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
  3. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  4. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  5. กระบองราหู : น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
  6. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  7. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  8. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  9. กระเรียน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้า รับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
  10. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  11. กระเหม่า : [-เหฺม่า] น. เขม่า, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า กระเหม่าซาง. (แผลงมาจาก เขม่า).
  12. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  13. กราด ๕ : [กฺราด] ก. กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, กวดให้อยู่ในบังคับ เช่น กราดควาย กราดเด็ก; พ่นน้ำนกและไก่แล้วเอาออกผึ่งแดด; ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด.
  14. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  15. กรีดเล็บ : ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บเก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ. (เงาะป่า).
  16. กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
  17. กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
  18. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  19. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  20. กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
  21. กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
  22. กอบด้วย : ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
  23. ก้อย ๑ : น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง.
  24. กะติ๊กริก : ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก). ก. จริตจะก้าน, ระริก.
  25. กะโปโล : ว. ไม่ได้เรื่องราว; มอมแมม เช่น เด็กกะโปโล.
  26. กะระหนะ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์ ทําตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณ เล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.
  27. กะหนอกะแหน : [-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.
  28. กันดอง : (โบ) น. ถ่องแถว เช่น เทเพนทรพฤกษนุกันดอง. (กล่อมช้างของเก่า).
  29. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  30. การเวก ๔ : [การะ-] น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง เรียกว่า การเวกตัวผู้ การเวกตัวเมีย หรือ การเวกใหญ่.
  31. กาเรียนทอง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
  32. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  33. กำตัด : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนกําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือชักออกก็ได้.
  34. กำปอ : น. ชื่อเพลงเขมรชนิดหนึ่ง เรียกว่า เขมรกําปอ. (วิวาห์พระสมุทร).
  35. กำพร้า ๒ : [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
  36. กำพวด ๒ : น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
  37. กำลังกินกำลังนอน : (สำ) ว. อยู่ในวัยกินวัยนอน เช่น เด็กกําลังกินกําลังนอน.
  38. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  39. กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
  40. กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  41. กุมารี : น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
  42. กุลาซ่อนผ้า : น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง.
  43. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  44. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  45. เกริ่น ๑ : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
  46. เกล็ดกระดี่ : ว. เรียกอาการโรคที่เกิดขึ้นที่ตาเด็กว่า ตาเกล็ดกระดี่.
  47. เกี่ยวข้าว : น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า เพลงเกี่ยวข้าว.
  48. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  49. แก่ ๒ : บ. ใช้นําหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก.
  50. แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-675

(0.0378 sec)