Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คณะ , then คณ, คณะ, คณา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คณะ, 147 found, display 1-50
  1. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะคณะคณะคณะคณะคณะคณะคณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  2. คณะกรมการจังหวัด : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
  3. คณะรัฐมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบ ด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
  4. คณะองคมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรง แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็น ต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรง ปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
  5. เจ้าคณะ : น. หัวหน้าคณะสงฆ์, คําเรียกตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ ระดับตําบล อําเภอ จังหวัด และภาค เป็นต้น ว่า เจ้าคณะตําบล เจ้าคณะ อําเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาคตามลําดับ.
  6. บริษัท : [บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไร ต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
  7. ปรางคณะ : [ปฺรางคะนะ] น. คณะ, สํานัก; สนาม; พื้นอย่างพื้นเรือน. (ส.).
  8. พระราชาคณะ : (กฎ) น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มี สมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ.
  9. ราชาคณะ : น. สมณศักดิ์ชั้นสูงกว่าพระครูสัญญาบัตรขึ้นไป ใช้ว่า พระราชาคณะ.
  10. คายกคณะ : [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
  11. อัคนิคณะ : น. เปลวไฟ. (ส.).
  12. คณานุกรม : ดู คณ-, คณะ.
  13. คณาจารย์ : ดู คณ-, คณะ.
  14. คณาธิการ : ดู คณ-, คณะ.
  15. คณาธิปไตย : ดู คณ-, คณะ.
  16. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  17. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะคณะคณะคณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  18. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  19. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะคณะคณะคณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  20. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะคณะคณะคณะคณะคณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  21. ทีม : น. ชุด, หมู่, คณะ. (อ. team).
  22. ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  23. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  24. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  25. สมุหนาม : (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่ รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  26. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  27. คณบดี : [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
  28. คณาจารย์ : [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย).
  29. คณาธิการ : น. ผู้มีอํานาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทําหน้าที่ ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ).
  30. คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
  31. คณานุกรม : น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายพระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน.
  32. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  33. กรมการจังหวัด : น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคน ที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
  34. กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
  35. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  36. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  37. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  38. การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
  39. คามวาสี : [คามะ-, คามมะ-] น. ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ใช้สําหรับเรียกคณะสงฆ์ ฝ่ายคันถธุระ, คู่กับ อรัญวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ. (ป., ส.).
  40. ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
  41. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  42. เครื่องแบบ : น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กัน เฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.
  43. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  44. งาสาน : (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า 'คามวาสี อรัญวาสี' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี.
  45. จรรยา : [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  46. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  47. จุดประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มี จุดประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
  48. เจ้าคุณ : (โบ) บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง; (โบ; ปาก) คำเรียกผู้มี บรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุที่เป็น พระราชาคณะ.
  49. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  50. เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-147

(0.0586 sec)