Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชักชวน .

Eng-Thai Lexitron Dict : ชักชวน, more than 7 found, display 1-7
  1. carry away : (PHRV) ; ชักชวน ; Related:ทำให้ฮึกเหิม
  2. sweep along : (PHRV) ; ชักชวน ; Related:โน้มน้าว
  3. tempt into : (PHRV) ; ชักชวน ; Related:ชักจูง, ทำให้สนใจ ; Syn:entice into, seduce into
  4. Eng-Thai Lexitron Dict : ชักชวน, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ชักชวน, more than 7 found, display 1-7
  1. ชักชวน : (V) ; persuade ; Related:ask, induce, invite ; Syn:ชวน ; Samp:บริษัทโฆษณาชักชวนลูกค้าด้วยถ้อยคำที่เกินจริง
  2. ชวน : (V) ; persuade ; Related:induce ; Syn:ชักชวน ; Def:จูงใจให้กระทำ ; Samp:คุณหมอทั้งสองชวนกันเดินขึ้นเนินทราย
  3. เกลี้ยกล่อม : (V) ; persuade ; Related:convince, prevail upon, induce, coax ; Syn:ชักชวน, หว่านล้อม, โน้มน้าว, ชักจูง, กล่อม ; Def:ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก, พูดจูงใจให้คล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม ; Samp:สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จปราบปราม และเกลี้ยกล่อมเจ้าชุมชนต่างๆและพวก ให้ยอมอ่อนน้อมสวามิภักดิ์
  4. โน้มน้าว : (V) ; persuade ; Related:induce, influence, convince, incite, prevail upon, talk into ; Syn:ชักชวน, หว่านล้อม ; Def:ชักชวนให้เห็นดีเห็นงามหรือโอนอ่อนตาม ; Samp:ศิลปินเพลงคนนี้สามารถโน้มน้าวเข้าถึงจิตใจแฟนเพลงได้ดีเยี่ยม
  5. โน้มน้าวใจ : (V) ; persuade ; Related:convince, induce, prevail ; Syn:ชักชวน, โน้มน้าว ; Def:ชักชวนให้เห็นดีเห็นงามหรือให้โอนอ่อนตาม ; Samp:เขาโน้มน้าวใจให้ผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบได้อย่างไม่ยากเย็น
  6. ผู้ชักชวน : (N) ; persuader ; Related:inducer ; Syn:คนชักชวน ; Def:ผู้ที่ชวนให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดร่วมกัน ; Samp:ท่านผู้นี้คือผู้ชักชวนให้ผมได้มาทำงานที่นี่ ; Unit:คน
  7. คำชักชวน : (N) ; persuasion ; Related:inducement ; Def:คำจูงใจหรือโน้มนำให้ทำตาม ; Samp:เธอเข้าสู่วงการภาพยนตร์ตามคำชักชวนของเพื่อน
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ชักชวน, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชักชวน, more than 5 found, display 1-5
  1. ชักชวน : ก. ชวนให้ทําด้วยกัน.
  2. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  3. จอบ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.
  4. เกลี้ย : [เกฺลี้ย] (แบบ) ก. ชักชวน, ทําให้ไล่เลี่ยกัน, เช่น เกลี้ยกระมลบันโดย. (ตะเลงพ่าย).
  5. เกลี้ยกล่อม : ก. ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก, พูดจูงใจ ให้คล้อยตามหรือปฏิบัติตาม.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ชักชวน, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ชักชวน, 3 found, display 1-3
  1. ยศกากัณฑกบุตร : พระเถระองค์สำคัญ ผู้ชักชวนให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี เดิมชื่อยศ เป็นบุตรกากัณฑกพราหมณ์ ดู สังคายนาครั้งที่๒
  2. สมาธิกถา : ถ้อยคำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  3. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก

ETipitaka Pali-Thai Dict : ชักชวน, 8 found, display 1-8
  1. อภินิมนฺเตติ : ค. เชื้อเชิญ, การนิมนต์, ชักชวน
  2. สมาทเปติ : ก. ชักชวน
  3. ทาปน : นป. การยังบุคคลอื่นให้ให้ทาน, การชักชวนให้บริจาค
  4. ทาเปติ : ก. ให้ให้, ให้บริจาค, ชักชวนให้บริจาค
  5. สมาปน : (นปุ.) การชักชวนให้ถือเอาด้วยดี, การชักชวน, สํ อา ปุพฺโพ, ทยฺ อาทาเน, ยุ, ยสฺส โป.
  6. อปายสหาย : (ปุ.) เพื่อนชักชวนในความฉิบหาย, เพื่อนชักชวนในทางแห่งความฉิบหาย.
  7. อุปลาปน : นป. การโกหกตอแหล, เรื่องเหลวไหล, การชักชวน
  8. อุปลาเปติ : ก. ชักชวน, ปลอบโยน, ป้อยอ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ชักชวน, 1 found, display 1-1
  1. ชักชวน : สมาทเปตฺวา

(0.0470 sec)