Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ซอย .

Eng-Thai Lexitron Dict : ซอย, 7 found, display 1-7
  1. alley : (N) ; ตรอก ; Related:ซอย, ซอกซอย ; Syn:alleyway
  2. alleyway : (N) ; ตรอก ; Related:ซอย, ซอกซอย, ทางเดินที่แคบ ; Syn:alley
  3. sector : (VT) ; แบ่งออกเป็นส่วนๆ ; Related:แยก, ซอย, แบ่ง ; Syn:divide, separate
  4. sliver : (VI) ; เฉือนบางๆ ; Related:ซอยบางๆ, กะเทาะออกเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ
  5. sliver : (VT) ; เฉือนบางๆ ; Related:หั่นเล็กๆ บางๆ, ซอยบางๆ, กะเทาะเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ
  6. wynd : (N) ; ถนนแคบๆ ที่อยู่ในเมือง (ใช้ในสก็อตแลนด์) ; Related:ถนนในตรอกหรือซอย

Thai-Eng Lexitron Dict : ซอย, more than 7 found, display 1-7
  1. ซอย : (N) ; lane ; Related:alley, by-road, side-street, footway ; Syn:ตรอก, ซอกซอย ; Def:เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ ; Samp:บ้านนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย อยู่ในซอยหมอเหล็ง ; Unit:ซอย
  2. ซอย : (V) ; slice ; Related:mince, divide ; Def:ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็กๆ ; Samp:แม่ซอยหัวหอมใส่ในยำวุ้นเส้น
  3. ซอยตัน : (N) ; blind alley ; Syn:ทางตัน ; Def:ซอยที่ไม่มีทางออกหรือไม่ทะลุไปทางอื่นๆ ได้ ; Samp:เธอต้องกลับรถที่กลางซอยเพราะซอยนี้เป็น ซอยตัน ทะลุไปไหนไม่ได้ ; Unit:ซอย
  4. ซอยเท้า : (V) ; tap with the feet ; Related:take short steps ; Def:ก้าวเท้าถี่ๆ , ยกเท้าขึ้นลงถี่ๆ อยู่กับที่ ; Samp:นักกีฬาซอยเท้าอยู่ในแถวเพื่อเตรียมตัวเข้าไปในสนาม
  5. ซอกซอย : (N) ; lane ; Related:alley, footway ; Syn:ตรอก, ซอย ; Samp:การเร่งเครื่องยนต์ตามซอกซอยอย่างไร้เหตุผล ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทำลายจิตใจมาก
  6. ตรอก : (N) ; lane ; Related:alley, narrow path ; Syn:ซอย, ทางผ่าน, ทางเดิน, เส้นทาง, ทาง, ทางแคบ ; Def:ทางที่แยกจากถนนใหญ่และมีขนาดเล็กกว่าถนน ; Samp:บ้านของเธอต้องเดินเข้าไปในตรอก ; Unit:ตรอก
  7. ปากซอย : (N) ; entrance to the sides treet ; Related:mouth of the sideroad ; Syn:ปากตรอก ; Samp:จากปากซอยมาถึงบ้านมีคนยืนเรียงรายเข้าแถวยาวเหยียด
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ซอย, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ซอย, more than 5 found, display 1-5
  1. ซอย : ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง. ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจากถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้ มีหลายซอย.
  2. ซอยไพ่ : ก. นำไพ่ทั้งสำรับมาซอยถี่ ๆ เพื่อให้ไพ่สับที่กัน.
  3. หมากซอย : น. เนื้อหมากดิบสดที่ผ่าออกเป็น ๔ ซีก รูปคล้ายกลีบส้ม นำมาซอยขวางเป็นชิ้นรูปสามเหลี่ยมบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.
  4. ข้าวซอย : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง เป็นเส้นคล้ายบะหมี่ แล้วปรุงเครื่อง, เดิมเรียก ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ.
  5. จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ซอย, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ซอย, 3 found, display 1-3
  1. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  2. ฌาน : การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓.ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔.จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓.๔.๕.ตรงกับ ข้อ ๒.๓.๔.ในฌาน ๔ ตามลำดับ
  3. ปัญจกัชฌาน : ฌานหมวด ๕ หมายถึงรูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอยละเอียดออกไปเป็น ๕ ชั้น (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้า จึงละวิตกและวิจารได้ทีละองค์) ดู ฌาน

ETipitaka Pali-Thai Dict : ซอย, not found

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ซอย, not found

(0.0272 sec)