Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปกครอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปกครอง, 155 found, display 1-50
  1. ปกครอง : ก. ดูแล, คุ้มครอง, ระวังรักษา; บริหาร.
  2. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  3. คุต : [คุด] (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์อื่น เช่น ธรรมคุต. (ป. คุตฺต; ส. คุปฺต).
  4. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการ ปกครองประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ.
  5. บาล : (แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็น คําหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).
  6. ผู้ปกครอง : น. ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแล; (กฎ) บุคคลซึ่งศาลตั้ง ให้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดา มารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง.
  7. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  8. งำ : ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
  9. บริหาร : [บอริหาน] ก. ออกกําลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหาร ส่วนท้องถิ่น; ดําเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้. น. ดํารัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คําแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร. (ป., ส. ปริหาร).
  10. คุป, คุปต์ : (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง. (ส.; ป. คุตฺต).
  11. ดูแล : ก. เอาใจใส่, ปกปักรักษา, ปกครอง.
  12. ทบวงการเมือง : (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอํานาจหน้าที่ในทาง ปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรมเทศบาล.
  13. บริรักษ์ : [บอริรัก] ก. ดูแล, รักษา, ปกครอง. (ส. ปริรกฺษ; ป. ปริรกฺข).
  14. ปาล : (แบบ) ก. บาล, เลี้ยง, รักษา, ปกครอง. (ป., ส.).
  15. พินิต : ก. แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  16. พิเนต : ก. พินิต, แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง.
  17. วินิต : ก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  18. หมู่บ้าน : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า ปกครอง.
  19. อภิบาล : ก. บํารุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).
  20. อาณัติ : [อานัด] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแล ปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
  21. อาณาประโยชน์ : น. ผลประโยชน์ส่วนตัวจากการที่ตนมีอํานาจ ปกครอง.
  22. เวียง ๒ : ปกครองท้องที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
  23. กฎมนเทียรบาล : (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสํานัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
  24. กฎหมายมหาชน : (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
  25. กฎหมายรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทาง การเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของ รัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
  26. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  27. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  28. กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
  29. กรมท่า : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัด กรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  30. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  31. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  32. กำนัน : น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกํานันพระแสง; (กฎ) ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครอง ราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล. ก. กัน, ถือ, เช่น พระจงกํานันกําหนดสัญญา. (สุธน).
  33. กิ่งอำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.
  34. ขอนิสัย : ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่ กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
  35. ขันหมาก ๑ : น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้น หรือแต่งงาน เป็นเครื่องคํานับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
  36. คณาธิการ : น. ผู้มีอํานาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทําหน้าที่ ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ).
  37. คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
  38. คดี : [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทาง กฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
  39. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  40. ครอบครอง : ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดย เจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
  41. คุตติ : [คุดติ] (แบบ) น. การรักษา, การคุ้มครอง, การปกครอง. (ป. คุตฺติ; ส. คุปฺติ).
  42. คุปติ : [คุบติ] (แบบ) น. การรักษา, การคุ้มครอง, การปกครอง. (ส.; ป. คุตฺติ).
  43. เครือจักรภพ, เครือรัฐ : [-จักกฺระพบ, -รัด] น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. (อ. commonwealth).
  44. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  45. แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
  46. จักรวรรดิ : [-หฺวัด] น. รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยการ ปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ. (ส.; อ. empire).
  47. จักรวรรดินิยม : [-หฺวัดนิยม] น. ลัทธิขยายอาณาเขตและอํานาจปกครอง ของรัฐ. (อ. imperialism).
  48. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  49. จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  50. จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศ ทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-155

(0.0194 sec)