Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยัน , then ยน, ยนฺ, ยัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยัน, 84 found, display 1-50
  1. ยัน : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  2. ยัน : ก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.
  3. ยันกัน : ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบ ข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
  4. ยันป้าย : ก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.
  5. ยันเย้า : ก. ปลํ้า; หยอก.
  6. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  7. ทักษิณายัน : น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ ในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
  8. เพศยันดร : [เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
  9. อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
  10. ทักษิณายัน : ดู ทักษิณ.
  11. ยักยี่ยักยัน : ว. ขะยิก ๆ, เขยก ๆ, ทําท่าขยับบ่อย ๆ.
  12. ยักแย่ยักยัน : ว. เขย้อแขย่ง, มีท่าทางเก้กัง.
  13. ยรรยง : [ยัน] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.
  14. ยันตร, ยันตร์ : [ยันตฺระ, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).
  15. เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
  16. ยืนยัน : ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดย แน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนง โดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี.
  17. ยัญ, ยัญ, ยัญญะ : [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคน เป็นเครื่องบูชา เรียกว่า บูชายัญ. (ป. ย?ฺ?; ส. ยชฺ?).
  18. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  19. กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
  20. กษิดิ, กษีดิ : [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
  21. กิดาหยัน : [-หฺยัน] น. มหาดเล็ก. (ช.).
  22. แกงแนง : น. ไม้ค้ายันไขว้เป็นรูปกากบาทระหว่างเสา เพื่อป้องกันโครงสร้างมิให้เซหรือรวน.
  23. โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
  24. ยัน : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
  25. ยัน : [ขะหฺยัน] น. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia strychnifolia Craib ในวงศ์ Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก.
  26. ขยี่ขยัน : [ขะหฺยี่ขะหฺยัน] ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  27. ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
  28. ข้างกบ : น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่น กระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบ ข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, บานกบ ก็ว่า.
  29. ขึงอูด : ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
  30. เขย่งก้าวกระโดด : น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทาง ทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับ ยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใคร กระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  31. แขนนาง ๒ : น. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก.
  32. ครีษมายัน : [คฺรีดสะ-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราว วันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. (ส. คฺรีษฺม + อายน).
  33. ค้ำ : ก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.
  34. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  35. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  36. จัมปา : น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
  37. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  38. จุน : ก. คํ้าหรือยันเพื่อปะทะปะทังไว้.
  39. ด่าว : (กลอน) ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ ดิ้นยัน ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า.
  40. ดำนาน : แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดํานาน พระมหาแพศ ยันดรธรรมเทศนา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตํานาน).
  41. ต่อปาก : ก. เล่าสืบกันมา; พูดยันกันเพื่อสอบสวนฝ่ายผิดฝ่ายถูก.
  42. ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ : ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
  43. ถ่อ ๑ : น. ไม้สําหรับยันแล้วดันให้เรือเดิน มักเป็นไม้ไผ่. ก. ทําให้เรือเดิน ด้วยใช้ไม้นั้นยันแล้วดันไป, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ไป หรือมาด้วยความลําบาก เช่น ถ่อกายมาถึงนี่.
  44. ทาน ๒ : ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.
  45. เท้าแขน : น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลัง ทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่ นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
  46. บานกบ : น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลาย แผ่นกระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดาน กรุกระหนาบข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง ต่าง ๆ, ข้างกบ ก็ว่า.
  47. เบญพาด : [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. (รูปภาพ เบญพาด)
  48. ปรัตยันต์ : [ปฺรัดตะยัน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส.; ป. ปจฺจนฺต).
  49. ป่าชายเลน, ป่าเลน : น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเล ขึ้นถึง ต้นไม้ในป่าประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้า ยันลําต้น โดยมากเป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
  50. พยัญชนะ : [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  51. [1-50] | 51-84

(0.0517 sec)