Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยาม , then ยาม, ยามะ, ยามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยาม, 96 found, display 1-50
  1. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  2. ยามสามตา : น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก๓หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวัน จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและ จันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
  3. ยามตูดชาย : (ถิ่น) น. เวลาบ่าย.
  4. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  5. ยาม : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุ มหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
  6. เรือยาม : น. เรือที่จัดให้อยู่เวรยาม เพื่อการเฝ้าตรวจ เช่น เรือยามเรดาร์ หรือเพื่อการใช้สอยทั่วไป เช่น เรือยามข้ามฟาก.
  7. วยายาม : น. พยายาม. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
  8. ยาม : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).
  9. ขานยาม : (โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.
  10. เคราะห์หามยามร้าย : น. เคราะห์ร้าย.
  11. ประจำยาม : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอก ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น.
  12. เฝ้ายาม : ก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา.
  13. ย่าม ๑ : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัว สําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.
  14. ย่าม ๒ : ก. เหิม, ทะยาน, ได้ใจ, เช่น ย่ามใจ.
  15. อยู่ยาม : ก. เฝ้าระวังเหตุการณ์.
  16. นิยาม : [ยาม] (แบบ) น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
  17. กาลโยค : [กาละ-] (โหร) น. การกําหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ.
  18. ครู ๒ : [คะรู] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  19. คำมูล : น. คําคําเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคําอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.
  20. จันเทา : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  21. ชีโว : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  22. ปฐมยาม : [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  23. พุธะ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  24. พุโธ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  25. ภุมมะ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  26. ภุมโม : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  27. มัชฌิมยาม : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
  28. รวิ ๒ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  29. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  30. ศศิ ๒ : [สะสิ] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  31. ศุกระ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  32. ศุโกร : [สุกโกฺร] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  33. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  34. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  35. กระแต ๒ : น. ชื่อฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้ สำหรับถือตี เป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ เรียกว่า ฆ้องกระแต.
  36. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  37. กลาบาต : [กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มีแสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย, อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคําตัดมาจาก ''อุกลาบาต'' ดูอุกกา).
  38. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  39. กุดั่น : น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจํายาม.
  40. เกณฑ์ทหาร : (ปาก) ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการในยามปรกติ.
  41. ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
  42. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  43. คู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและ ยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย).
  44. ฆ้องกระแต : น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดย ทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่ง มีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณ ในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
  45. จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
  46. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  47. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  48. ซ้อมซัก : (โบ) ก. ซักซ้อม; (กลอน) ทุบตี เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำ เขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  49. ถุงย่าม : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหู หรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ย่าม ก็ว่า.
  50. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  51. [1-50] | 51-96

(0.0881 sec)