Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลัก , then หลก, หลัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลัก, 384 found, display 1-50
  1. หลัก : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
  2. หลัก : น. ตําแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจํานวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จํานวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่าจํานวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จํานวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจํานวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
  3. หลัก : (โบ) ว. จํานวนแสน. (ป. ลกฺข; ส. ลกฺษ).
  4. หลักชัย ๑ : ดูใน หลัก.
  5. หลักการ : น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  6. หลักเกณฑ์ : น. หลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้วินิจฉัยและปฏิบัติตาม.
  7. หลักแจว : น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสําหรับยึดแจว; ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).
  8. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  9. หลักฐาน : น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคง อันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดง ประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้ พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
  10. หลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หน่วยลงทุน.
  11. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  12. หลักลอย : ว. ไม่มีหลักแหล่ง, ไม่อยู่เป็นที่, เชื่อถือไม่ได้, เช่น เขาเป็นคน หลักลอย.
  13. หลักวิชา : น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.
  14. หลักแหล่ง : น. ที่ซึ่งอยู่ประจํา เช่น ทำงานเป็นหลักแหล่ง ตั้งบ้านเรือนเป็น หลักแหล่ง.
  15. หลักแหลม : ว. คมคาย เช่น วาจาหลักแหลม, เฉียบแหลม เช่น ความคิด หลักแหลม, แหลมหลัก ก็ว่า.
  16. หลักชัย ๒ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศรวณะ มี ๓ ดวง, ดาวพระฤๅษี ดาวศระวณ หรือ ดาวสาวนะ ก็เรียก.
  17. หลักบ้านหลักเมือง : (ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.
  18. หลักพยาน : น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร.
  19. กระเต็นปักหลัก : ดู ปักหลัก๒(๑).
  20. กาจับหลัก : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
  21. เข้าหลัก : ก. ถูกแบบ, ถูกตํารา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์.
  22. จับหลัก : (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.
  23. บริษัทหลักทรัพย์ : (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการ กองทุนรวม.
  24. ปักหลัก : ก. ตั้งมั่นอยู่กับที่ไม่ยอมถอยหรือไม่ยอมโยกย้าย ในคำว่า ปักหลักสู้ ปักหลักอยู่.
  25. ปักหลัก : น. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดํา ปากหนาแหลมตรงสีดํา มักเกาะตามหัวเสาหรือ ตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อก สีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดํา อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.
  26. เป็นหลักเป็นฐาน : ว. มีฐานะมั่นคง เช่น เขาตั้งตัวเป็นหลักเป็น ฐานแล้ว.
  27. เป็นหลักเป็นแหล่ง : ว. อยู่เป็นที่เป็นทางไม่โยกย้ายไปมา เช่น เขามี ที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง.
  28. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  29. ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน : (สํา) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือน ไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
  30. ลงหลักปักฐาน : (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
  31. ลิงชิงหลัก : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนประจําหลัก ของตนและต้องวิ่งสับหลักกันไปมา มีผู้เล่นอีกคนหนึ่งยืนอยู่ตรง กลาง เรียกว่า ลิง คอยชิงหลักของคนอื่นในขณะที่วิ่งสับหลักกัน, ถ้าใช้ลูกบอลโยนแทนการวิ่งสับหลัก เรียกว่า ลิงชิงบอล.
  32. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  33. สดมภ์ : [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการ ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ).
  34. สตัมภ์ : [สะ] (แบบ) น. เสา, หลัก; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สฺตมฺภ, สฺตมฺพ; ป. ถมฺภ).
  35. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  36. แหลมหลัก : ว. คมคาย เช่น วาจาแหลมหลัก, เฉียบแหลม เช่น ความคิด แหลมหลัก, หลักแหลม ก็ว่า.
  37. อาหลักอาเหลื่อ : ว. อึดอัดใจ, ลําบากใจ, อลักเอลื่อ อิหลักอิเหลื่อ หรือ อีหลักอีเหลื่อ ก็ว่า.
  38. อีหลักอีเหลื่อ : [เหฺลื่อ] ว. อึดอัดใจ, ลําบากใจ, อลักเอลื่อ อาหลักอาเหลื่อ หรือ อิหลักอิเหลื่อ ก็ว่า.
  39. กาจับหลัก : ดูใน กา.
  40. กาจับหลัก : (๑) ดู กาสามปีก(๑). (๒) ดู ราชดัด.
  41. ปักหลัก : ดูใน ปัก.
  42. พยานหลักฐาน : (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยัน หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
  43. แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก : (สำ) น. หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง แต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน.
  44. พื้นฐาน : น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลัก ความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.
  45. แม่บท : น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.
  46. กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
  47. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  48. ก หัน : น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
  49. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  50. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-384

(0.0639 sec)