Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลั่ง , then หลง, หลั่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลั่ง, 125 found, display 1-50
  1. หลั่ง : ก. ไหลลงหรือทําให้ไหลลงไม่ขาดสาย เช่น หลั่งน้ำตา หลั่งน้ำสังข์.
  2. หลั่งไหล : ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.
  3. อาสิญจ์ : [สิน] ก. โปรย, รด, หลั่ง, ประพรม. (ป.).
  4. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  5. กรวด ๓ : [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
  6. กรวดน้ำ : ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ; (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, มักใช้ว่า กรวดน้ำ คว่ำกะลา หรือ กรวดน้ำคว่ำขัน.
  7. คล่าว : [คฺล่าว] (กลอน) ก. ไหล, หลั่งไหล, เช่น บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ. (นิ. นรินทร์).
  8. จรวจ : [จฺรวด] (แบบ) ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า).
  9. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  10. ต่อม : น. เม็ดตุ่มที่ขึ้นตามตัว; (สรีร) อวัยวะของคนและสัตว์ ทําหน้าที่สร้างและหลั่งสาร ที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกาย มี ๒ ชนิด คือ ต่อมไร้ท่อ และ ต่อมมีท่อ.
  11. ทักขิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น. (ป.).
  12. ทักษิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่า พระเต้าษิโณทก. (ส.).
  13. น้ำลาย : น. นํ้าที่หลั่งออกมาจากต่อมนํ้าลายและต่อมเมือกในปากช่วย ย่อยอาหารจําพวกแป้ง.
  14. เนืองนอง : ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สินเนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
  15. ฝันเปียก : น. การหลั่งนํ้ากามในขณะนอนหลับและฝัน.
  16. พลั่ง, พลั่ง ๆ : [พฺลั่ง] ว. อาการที่หลั่งไหลออกมาไม่ขาดสายด้วยกําลังดัน เช่น น้ำเดือดพลั่ง ๆ น้ำไหลพลั่ง ๆ.
  17. รดน้ำ : น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือ ทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพร ผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.
  18. วิวาหมงคล : น. พิธีแต่งงาน, งานสมรส, เช่น ขอเชิญหลั่งน้ำ พระพุทธมนต์ในงานวิวาหมงคล.
  19. สอ ๒ : ว. ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า น้ำลายสอ.
  20. สังข, สังข์ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำ พระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Chalonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).
  21. หลง ๆ ลืม ๆ : ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
  22. หลงผิด : ก. สำคัญผิด, เข้าใจไม่ถูกต้อง; หลงประพฤติไปในทางที่ผิด.
  23. หลงละเมอ : ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลง ละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
  24. หลงเหลือ : ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมี เศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
  25. หลงจู๊ : น. ผู้จัดการ. (จ.).
  26. ลุ่มหลง : ก. หมกมุ่น, มัวเมา, เช่น ลุ่มหลงในอบายมุข.
  27. หลิ่ง : [หฺลิ่ง] น. ตลิ่ง.
  28. แหล่ง : [แหฺล่ง] น. ถิ่น, ที่อยู่, บริเวณ, ศูนย์รวม, บ่อเกิด, แห่ง, ที่.
  29. ควันหลง : น. ควันเหลือค้างอยู่, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว และกลับปรากฏกระเส็นกระสายขึ้นอีก.
  30. หลงตา, หลงหูหลงตา : ว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไป โดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.
  31. กะป้ำกะเป๋อ : ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
  32. ขล้ง : [ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
  33. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  34. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  35. กิเลส, กิเลส- : [-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคําว่า กิเลสหยาบ.
  36. ได้หน้าลืมหลัง : ก. หลง ๆ ลืม ๆ.
  37. ป้ำเป๋อ, ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ขี้หลงขี้ลืม, กะปํ้ากะเป๋อ ก็ว่า.
  38. เผลอไผล : [ไผฺล] ก. หลง ๆ ลืม ๆ, ลืมตัวไปชั่วขณะ, เลินเล่อ.
  39. เฟือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, เลือน.
  40. มูฬห- : [มูนหะ-] ว. เขลา, หลง. (ป.).
  41. รากเหง้า : น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่ว ทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.
  42. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  43. หลัง ๒ : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  44. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  45. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  46. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  47. กับ ๑ : น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลิ้นหรือไก เมื่อไปกระทบเข้าก็จะปิด หรืองับทันที, โดยปริยายหมายถึงอุบายที่ใช้ล่อให้หลงเชื่อ.
  48. กาหลงรัง : (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้ว ไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
  49. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  50. กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-125

(0.0667 sec)