Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวั่นเกรง, หวั่น, เกรง , then กรง, เกรง, หวน, หวนกรง, หวั่น, หวั่นเกรง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวั่นเกรง, 156 found, display 1-50
  1. หวั่นกลัว, หวั่นเกรง : ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.
  2. หวั่น : ก. พรั่น, มีอาการกริ่งเกรงไป.
  3. เกรง : [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
  4. หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
  5. เกรงขาม : ก. คร้าม, เกรง.
  6. หวั่นใจ : ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.
  7. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  8. เกรงกลัว : ก. กลัว.
  9. หวั่นวิตก : ก. มีความรู้สึกกังวลใจ.
  10. หวั่นหวาด : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวาดหวั่น ก็ว่า.
  11. หวาดระแวง : ก. หวั่นเกรงสงสัยไปเอง.
  12. แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
  13. โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
  14. ขยั้น : [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
  15. ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
  16. คร้ามเกรง : ก. เกรงกลัว.
  17. คุ้มเกรง : ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
  18. เยง : ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี.
  19. หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
  20. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  21. หวน : ก. เวียนกลับ เช่น ลมหวน.
  22. กริ่งเกรง : ก. ระแวงกลัวไป.
  23. เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ : ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบาก เดือดร้อนรําคาญใจ.
  24. เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  25. แยง ๒ : ก. เยง, กลัว, เกรง.
  26. กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
  27. กระดาก ๑ : ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
  28. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  29. กระเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
  30. กระเทือนซาง : (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
  31. กระเหม็ดกระแหม่ : [-แหฺม่] ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
  32. กระอืด : ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
  33. กัมบน : [กําบน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน). (ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
  34. กัมป- , กัมปน- : [กําปะ-, กําปะนะ-] น. การหวั่นไหว, แผ่นดินไหว. (ป., ส.).
  35. กัมปนาการ : น. อาการคือการหวั่นไหว. (ป.).
  36. กัมปนาท : น. เสียงสนั่นหวั่นไหว. (ป. กมฺป + นาท).
  37. กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
  38. กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
  39. กำบน : ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).
  40. เกี่ยงตาย : ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
  41. แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
  42. โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
  43. โกโรโกโส : (ปาก) ว. โกรงเกรง, ไม่มั่นคง, เช่น กระท่อมโกโรโกโส; ต่ำต้อย เช่น คนโกโรโกโส.
  44. ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  45. เข้มแข็ง : ก. แข็งแรงในการงาน, ขยันขันแข็ง, ไม่ย่อท้อหวั่นไหว.
  46. เขม็ดแขม่ : [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่] ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
  47. เขยียวขยอน : [ขะเหฺยียวขะหฺยอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, เกรียวกราว. (ข. เขฺญียวขฺญาร ว่า เจื้อยแจ้ว).
  48. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  49. ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
  50. คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-156

(0.1210 sec)