Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัว , then หว, หัว .

Eng-Thai Lexitron Dict : หัว, more than 7 found, display 1-7
  1. konk : (SL) ; หัว ; Related:กบาล, ศีรษะ ; Syn:conk
  2. loaf : (SL) ; หัว ; Related:สมอง ; Syn:loaf of bread
  3. loaf of bread : (SL) ; หัว ; Related:สมอง ; Syn:loaf
  4. nob : (N) ; หัว ; Related:ศีรษะ ; Syn:head
  5. pate : (N) ; หัว ; Related:ศีรษะ ; Syn:head, noodle
  6. think-box : (SL) ; หัว ; Related:กะโหลก, กบาล
  7. bulb : (N) ; หัว (ของต้นไม้) ; Related:หัว, เหง้า, ก้อน
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : หัว, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : หัว, more than 7 found, display 1-7
  1. หัวไชเท้า : (N) ; radish ; Syn:หัวผักกาด ; Samp:ดวงชอบกินแกงจืดวุ้นเส้นใส่หัวไชเท้า ; Unit:หัว
  2. หัวกะโหลก : (N) ; skull ; Related:cranium ; Syn:กะโหลก ; Def:กระดูกที่หุ้มมันสมอง ; Samp:ด้ามปืนพกที่ทุบหัวกะโหลกของเขาทำให้ประสาทส่วนนั้นใช้การไม่ได้ ; Unit:หัว
  3. หัวบันทึก : (N) ; record head ; Samp:ดิสก์จะถูกบรรจุใว้ในกล่องที่ปิดสนิท มีหัวบันทึกและหัวอ่านในตัวที่จะสัมผัสกับแผ่นฮาร์ดดิสก์ ; Unit:หัว
  4. หัวผักกาด : (N) ; turnip ; Samp:กระต่ายชอบกินหัวผักกาด ; Unit:หัว
  5. หัวแหวน : (N) ; setting (of a ring) ; Samp:เอาหินนี้ไปทำหัวแหวนคงจะสวยดี ; Unit:หัว
  6. เกล้า : (N) ; head ; Related:skull ; Syn:หัว, กระหม่อม, เศียร, ศีรษะ ; Samp:การลงภาพบุคคลในสถาบันที่สาธารณชนเคารพสักการะและนับถือไว้เหนือเกล้าเหนือหัวนั้นควรระมัดระวังความเสื่อมเสียหายให้มาก ; Unit:หัว
  7. กบาล : (N) ; head ; Related:skull ; Syn:หัว, ศีรษะ ; Def:ส่วนบนสุดของร่างกายคน หรือ สัตว์ ; Samp:นักเลงหัวไม้แถวบ้านถูกจับเพราะใช้ไม้ตีกบาลนักเลงอีกพวกหนึ่ง ; Unit:หัว
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : หัว, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัว, more than 5 found, display 1-5
  1. หัว : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  2. หัว : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  3. หัว : (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.
  4. หัวแข็ง ๑ : ดูใน หัว.
  5. หัวด้วน ๑ : ดูใน หัว.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : หัว, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : หัว, 10 found, display 1-10
  1. ถัมภะ : หัวดื้อ (ข้อ ๑๑ ในอุปกิเลส ๑๖)
  2. เหตุผลสนธิ : หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท (เหตุในอดีต คืออวิชชาและสังขาร, ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, เหตุในปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ, ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)
  3. คณะธรรมยุต : คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี; สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย (การคณะสงฆ์ น.๑๐)
  4. ปัจจันตประเทศ : ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัชฌิมชนบท
  5. มิตตปฏิรูป : คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๒.ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก ๓.ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน ๔.คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๒.คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ ๑.ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย ๒.ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย ๓.สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๔.เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง ๓.คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วก็เออออ ๒.จะทำดีก็เออออ ๓.ต่อหน้าสรรเสริญ ๔.ลับหลังนินทา ๔.คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา ๒.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน ๓.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น ๔.คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
  6. เมถุนสังโยค : อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง, ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง, ชอบจ้องดูตากับหญิง, ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง, ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง, เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า
  7. วังคีตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ได้ศึกษาไตรเพทจนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงได้เรียนมนตร์พิเศษชื่อฉวสีสมนตร์ สำหรับพิสูจน์ศีรษะซากศพ เอานิ้วเคาะหัวศพก็ทราบว่าผู้นั้นตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน ท่านมีความชำนาญในมนตร์นี้มาก ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้แสดงความสามารถของตน แต่เมื่อเคาะศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วไม่สามารถบากคติได้ ด้วยความอยากเรียนมนตร์เพิ่มอีก จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ
  8. วัตถิกรรม : การผูกรัดที่ทวารหนักคือผูกรัดหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะหมายถึงการสวนทวารเบาก็ได้
  9. วินัยมุข : มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ทีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ
  10. อุปกิเลส : โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร ๒) โทสะ คิดประทุษร้าย ๓) โกธะ โกรธ ๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖) ปลาสะ ตีเสมอ ๗) อิสสา ริษยา ๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙) มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒) สารัมภะ แข่งดี ๑๓) มานะ ถือตัว ๑๔) อติมานะ ดูหมั่นท่าน ๑๕) มทะ มัวเมา ๑๖) ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย

ETipitaka Pali-Thai Dict : หัว, more than 5 found, display 1-5
  1. กรงฺค : นป. ศีรษะ, หัว, กระดูกมนุษย์
  2. กรหาฏ กรหาฏก : (นปุ.) เหง้าในดิน, หัวใน ดิน, เหง้า, หัว, ก้านดอกไม้. วิ. กุยํ รูหตีติ กรหาฏํ. กุปุพฺโพ, รุหฺ ชนเน, อาโฏ, อุสฺสตฺตํ. ศัพท์ หลัง ก สกัด.
  3. มุทธา : (อิต.) ปัญญาเพียงดังศรีษะ, ปัญญาชื่อมุทธา, หัว, ศรีษะ, ยอด, ที่สุด. อาอิต.
  4. สีส : ป. ศีรษะ, หัว, ยอด, หัวข้อ
  5. อุตฺตมค อุตฺตมงฺค : (นปุ.) อวัยวะสูงสุด, หัว, ศรีษะ. วิ. องฺเคสุ อุตฺตมํคตฺตา อุตฺตมํคํ. อุตฺตมํ จ ตํ อํคํ จาติ วา อุตฺตมํคํ วา. ส. อุตฺตมางฺค.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : หัว, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : หัว, 6 found, display 1-6
  1. หัว, ศรีษะ : สีโส, อุตฺตมงฺคํสิโร, มุทฺธา, มตฺถโก
  2. หัวหอม : ปลณฺฑุ, สุกนฺทโก [ปุ.]
  3. หัวไหล่ : ชตฺตุ
  4. กระพองหัวช้าง : กุมฺโภ [ป.]
  5. นิ้วหัวแม่มือ : องฺคุฏฺโฐ
  6. มีความรู้ท่วมหัว : อติเรกสุตสมฺปนฺโน, อติเรกสิปฺปสมฺปนฺโน

(0.2441 sec)