Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อรุณรุ่ง, อรุณ, รุ่ง , then รง, รุ่ง, อรณ, อรณรง, อรุณ, อรุณรุ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อรุณรุ่ง, 146 found, display 1-50
  1. รุ่ง : น. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.
  2. อรุณ : น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  3. รุ่งเช้า : น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวัน รุ่งขึ้น.
  4. รุ่งริ่ง : ว. ขาดออกเป็นริ้ว ๆ, ขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, เช่น เสื้อขาดรุ่งริ่ง, กะรุ่งกะริ่ง ก็ว่า.
  5. รุ่งขึ้น : น. วันใหม่, วันพรุ่งนี้.
  6. รุ่งแจ้ง : น. เวลาพระอาทิตย์ขึ้นสว่างแล้ว แต่ยังไม่มีแสงแดด.
  7. รุ่งราง : น. เวลาจวนสว่างพอมองเห็นราง ๆ ยังไม่กระจ่างชัด.
  8. รุ่งสว่าง : น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.
  9. รุ่งสาง : น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.
  10. ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
  11. หามรุ่งหามค่ำ : ว. ตลอดวันตลอดคืน เช่น เที่ยวหามรุ่งหามค่ำ.
  12. ดาวรุ่ง : น. ดาวประกายพรึก คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด.
  13. เทียนรุ่ง : น. เทียนที่จุดในพระอุโบสถในวันวิสาขบูชาเป็นต้น มีขนาด ใหญ่พอจุดอยู่ได้ตลอดคืน.
  14. เบิกอรุณ : (แบบ) ว. เช้าตรู่, เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง, (ใช้แก่เวลา).
  15. อรณ : [อะระนะ] ก. ไม่รบ. (ป., ส.).
  16. ประกายพรึก : [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นใน เวลาเช้ามืด, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง. (ข. ผกาย ว่า ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
  17. อรุโณทัย : ดู อรุณ.
  18. กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
  19. รวงผึ้ง ๑ : ว. รุ่ง, เรือง.
  20. หาม ๒ : ว. รุ่ง, สว่าง, ฮาม ก็ว่า. (ข. พฺรหาม).
  21. รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  22. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  23. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  24. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  25. กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
  26. ไก่โห่ : (ปาก) น. เวลารุ่งสาง, ก่อนเวลา, เช่นพูดว่า มาตั้งแต่ไก่โห่.
  27. คร่ำเคร่ง : ว. หมกมุ่นในการทํางานเป็นต้นอย่างหามรุ่งหามคํ่า.
  28. คืน ๑ : น. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, เวลากลางคืน. คืนยังรุ่ง ว. ตลอดคืน.
  29. เช้า ๑ : น. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า; เร็วกว่าเวลาที่กําหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า; โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กําหนด.
  30. ทินาท : (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
  31. ประจำเมือง : น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวคํ่า, ถ้าเห็นในเวลา เช้ามืด เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.
  32. ประฮาม : น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. (ข. พฺรหาม).
  33. ปรัตยูษ : [ปฺรัดตะยูด] (โบ; กลอน) ว. ปัจจูส, เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ส. ปฺรตฺยูษ; ป. ปจฺจูส).
  34. ปัจจุส-, ปัจจูสะ : [ปัดจุดสะ-, ปัดจูสะ] (แบบ) น. เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).
  35. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  36. พรุก : น. วันพรุ่งนี้, รุ่งขึ้น.
  37. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  38. มหายุค : น. ยุคใหญ่ คือ ยุคทั้ง ๔ รวมกัน, จตุรยุค ก็เรียก. (ดู จตุรยุค), ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหม เมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิงและปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. (ส.).
  39. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  40. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  41. ยุกดิ, ยุกติ : (แบบ; กลอน) ก. ชอบ เช่น รุ่งนั้นธก็เสด็จโดยอุตราภิมุข ดําเนอรยุกติ ยูรยาตร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ยุกฺติ; ป. ยุตฺติ).
  42. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  43. วัน ๑ : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  44. วิกาลโภชน์ : น. การกินอาหารในเวลาวิกาล คือ ผิดเวลา ซึ่งว่าตาม พระวินัยกำหนดไว้ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น. (ป.).
  45. วิกาล, วิกาล : [วิกาน, วิกานละ] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้า บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ วินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหาร ในเวลาวิกาล. (ป.).
  46. ศิลปะสถาปัตยกรรม : น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
  47. ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
  48. สวัสดิ์ ๒, สวัสดี ๒ : [สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน เช่น อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ สวัสดีปีใหม่ สวัสดีครับคุณครู.
  49. อรุโณทัย : น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลา เช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
  50. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-146

(0.1615 sec)