Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกียจคร้าน .

Eng-Thai Lexitron Dict : เกียจคร้าน, more than 7 found, display 1-7
  1. idle : (ADJ) ; เกียจคร้าน ; Related:ขี้เกียจ, ซึ่งไม่ทำอะไร ; Syn:lazy, indolent, slothful
  2. cardinal sin : (N) ; หนึ่งในบาปที่ร้ายแรง 7 ประการในศาสนาคริสต์ (หยิ่งยโส, ราคะ, อิจฉา, โมหะ, โลภ, ตะกละ, เกียจคร้าน)
  3. indolent : (ADJ) ; ขี้เกียจ ; Related:เกียจคร้าน, สังหลังยาว
  4. Eng-Thai Lexitron Dict : เกียจคร้าน, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : เกียจคร้าน, more than 7 found, display 1-7
  1. เกียจคร้าน : (V) ; be lazy ; Related:be indolent, be idle, be slothful, be inert, be inactive ; Syn:ขี้เกียจ, ขี้คร้าน, คร้าน ; Ant:ขยัน, ขยันขันแข็ง ; Def:ความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใดๆ ; Samp:คนบางพวกเกียจคร้านที่จะประกอบสัมมาอาชีพ คอยจ้องแต่จะลักขโมย เบียดเบียนคนอื่น
  2. เกียจคร้าน : (ADJ) ; lazy ; Related:idle, inactive, indolent ; Syn:ขี้เกียจ, ขี้คร้าน, คร้าน ; Ant:ขยัน, ขยันขันแข็ง ; Def:ความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใดๆ ; Samp:คนที่มีเวลาว่างมากแล้วก็ไม่รู้จะทำอะไร เป็นคนเกียจคร้านบ้าง เป็นคนที่ไม่ฉลาดบ้าง ถึงต้องจัดให้เวลาว่างนี้เป็นประโยชน์
  3. ขี้เกียจ : (V) ; lazy ; Related:idle ; Syn:เกียจคร้าน, สันหลังยาว ; Ant:ขยัน ; Def:ไม่อยากทำงาน ; Samp:เมียของเขาขี้เกียจจะตาย จนเขาออกปากบ่นอยู่เรื่อย
  4. ขี้เกียจ : (ADJ) ; lazy ; Related:idle ; Syn:เกียจคร้าน, สันหลังยาว ; Ant:ขยัน ; Def:ไม่อยากทำงาน ; Samp:ครูส่วนใหญ่มักไม่ชอบเด็กขี้เกียจเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
  5. สันหลังยาว : (ADJ) ; lazy ; Related:indolent, slothful, idle ; Syn:ขี้เกียจ, เกียจคร้าน ; Ant:ขยัน ; Def:ที่มีความเกียจคร้านไม่อยากทำงานหรือทำสิ่งต่างๆ ; Samp:เขาทำตัวเป็นคนสันหลังยาว จึงเป็นที่น่ารังเกียจของคนในบ้าน
  6. ขี้คร้าน 1 : (V) ; be lazy ; Related:be indolent, be slothful ; Syn:ขี้เกียจ, เกียจคร้าน, ขี้เกียจขี้คร้าน, คร้าน ; Def:มีความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใดๆ ; Samp:ช่วงนี้ผมรู้สึกว่าผมขี้คร้านที่จะพูดกับเขา
  7. คร้าน : (V) ; be lazy ; Related:be indolent, be slothful ; Syn:ขี้เกียจ, เกียจคร้าน ; Samp:กว่าผมจะกลับเข้าบ้านก็มืดค่ำคร้านจะอาบน้ำ
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : เกียจคร้าน, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกียจคร้าน, more than 5 found, display 1-5
  1. เกียจคร้าน : ก. ขี้เกียจ, ไม่อยากทํางาน.
  2. ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  3. คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
  4. โกสัช : [-สัด] (แบบ) น. ความเกียจคร้าน. (ป. โกสชฺช).
  5. ขยัน ๑ : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : เกียจคร้าน, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : เกียจคร้าน, 5 found, display 1-5
  1. โกสัชชะ : ความเกียจคร้าน
  2. ผู้มีราตรีเดียวเจริญ : ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท
  3. หลักกำหนดธรรมวินัย : หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรม วินัย ๘ อย่าง คือ ก.ธรรมเหล่าใด เป็นไป ๑.เพื่อความย้อมใจติด ๒.เพื่อความประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความพอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักมากอยากใหญ่ ๕.เพื่อความไม่สันโดษ ๖.เพื่อความคลุกคลีในหมู่ ๗.เพื่อความเกียจคร้าน ๘.เพื่อความเลี้ยงยาก, ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์, ข.ธรรมเหล่าใดเป็นไป ๑.เพื่อความคลายหายติด ๒.เพื่อความไม่ประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักน้อย ๕.เพื่อความสันโดษ ๖.เพื่อความสงัด ๗.เพื่อการประกอบความเพียร ๘.เพื่อความเลี้ยงง่าย, ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์
  4. อบายมุข : ช่องทางของความเสื่อม, เหตุเครื่องฉิบหาย, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์, ทางแห่งความพินาศ มี ๔ อย่าง คือ ๑) เป็นนักเลงหญิง ๒) เป็นนักเลงสุรา ๓) เป็นนักเลงการพนัน ๔) คบคนชั่วเป็นมิตร; อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ ๑) ติดสุราและของมึนเมา ๒) ชอบเที่ยวกลางคืน ๓) ชอบเที่ยวดูการเล่น ๔) เล่นการพนัน ๕) คบคนชั่วเป็นมิตร ๖) เกียจคร้านการงาน
  5. อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ

ETipitaka Pali-Thai Dict : เกียจคร้าน, more than 5 found, display 1-5
  1. กุณฺฐ : ค., ป. เป็นง่อย, โค้ง, คดงอ; เกียจคร้าน, ไม่คม; คนเป็นง่อย
  2. อนาทร : (วิ.) ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่เอาใจใส่, ไม่พะวงไม่นำพา, เฉยเมย, เกียจคร้าน, คร้าน, เบียดเบียน, รบกวน, ดูถูก, ดูหมิ่น, ดูแคลนไม่เห็นแก่กัน, อนาทร (อะนาทอน) ไทยใช้ในความหมายว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนร้อนอกร้อนใจ.น+อาทร.
  3. อพฺภุ : ป. ความไม่มีประโยชน์, เกียจคร้าน
  4. กิลาสุ : (วิ.) เกียจคร้าน. กุจฺฉิตปุพฺโพ, ลสฺ กนฺติยํ, ณุ, ลบ จฺฉิต แล้วแปลง อุ ที่ กุ เป็น อิ.
  5. นิทฺทาลุ นิทฺทาลู นิทฺทาสีล : (วิ.) มีปกตินอน (นอนมาก), เกียจคร้าน. นิทฺทา+อาลุ, อาลู ปัจ. นิทฺทา+สีล. ส. นิทฺราลุ, นิทฺราศีล.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : เกียจคร้าน, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เกียจคร้าน, 3 found, display 1-3
  1. เกียจคร้าน : กุสีต, อลส, ตนฺทิต, กุณฺฐ [ค.]
  2. ความเกียจคร้าน : อาลสิยํ [นป.]
  3. ไม่เกียจคร้าน : อตนฺทิต, อนลส

(0.0363 sec)