Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เคาะ , then คา, เคา, เคาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เคาะ, 153 found, display 1-50
  1. เคาะ : ก. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่, ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู เคาะระฆัง เคาะตัวถังรถ; พูดเย้าแหย่. ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ.
  2. เคาะแคะ : ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เกาะแกะ ก็ว่า.
  3. เทง, เท้ง ๑ : (โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
  4. เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  5. กะเกาะ : (กลอน) ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคาะพระทวารดังกะเกาะก้องกึก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  6. เกาะ ๓ : ว. เสียงเคาะ.
  7. เกาะแกะ : ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เช่น มันเกาะแกะเกินก้ำเป็นธรรมดา. (ขุนช้างขุนแผน), เคาะแคะ ก็ว่า.
  8. โกก ๑ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือคอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
  9. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  10. เขก : ก. ใช้ด้านหลังของข้อนิ้วที่งอเข้าด้วยกันเคาะลงไป เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว.
  11. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  12. โขก : ก. ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่ควํ่าหน้า ลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผากโขกพื้น.
  13. ค้อน ๑ : น. ชื่อเครื่องมือที่มีหัวและด้าม สำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ, ลักษณนามว่า เต้า หรือ อัน; เครื่องมือชนิดหนึ่งใช้ในการจับปลา.
  14. คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
  15. ต๊อก ๑ : น. เรียกกลองเล็ก ๆ สําหรับเคาะจังหวะดังต๊อก ๆ ว่า กลองต๊อก.
  16. ประแดะ : น. เครื่องมือของช่างทอง สําหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน ทําด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.(รูปภาพ ประแดะ)
  17. เปก ๑, เป๊ก ๑ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเคาะไม้.
  18. เปาะ : ว. ไม่หยุดปาก (ใช้แก่กริยาชม); เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเคาะไม้.
  19. โปก, โป๊ก : ว. เสียงดังอย่างเอาค้อนเคาะกระดาน.
  20. พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
  21. พิมพ์สัมผัส : ก. ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง ๑๐ เคาะแป้นอักษรโดยไม่ต้อง มองแป้น.
  22. ไม้ค้อน : น. ไม้ที่ทำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้ตีระฆังเป็นต้น; เครื่องมือโลหะรูปร่าง คล้ายตะลุมพุก แต่เล็กกว่ามาก สำหรับตีทองคำให้เป็นแผ่นทองคำเปลว, เครื่องมือ ทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายตะลุมพุก สำหรับเคาะกระดาษสาเป็นต้นให้เป็นแผ่นเพื่อใช้ เป็นใบซับทองคำเปลว. (รูปภาพ ไม้ค้อน)
  23. เราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
  24. โลห–, โลหะ : [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
  25. ไล่ราว : ก. ล่าสัตว์ด้วยวิธีตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์ตกใจวิ่งกระเจิด กระเจิงไปตามทางที่ผู้ล่าต้องการ.
  26. ส้อมเสียง : น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับ จับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่ อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  27. คา ๑ : น. เครื่องจําคอนักโทษ ทําด้วยไม้.
  28. คา ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Imperata cylindrica Beauv. ในวงศ์ Gramineae ใบคาย แข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เหง้าใช้ทํายาได้.
  29. คาหนังคาเขา : (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับ ของกลาง, ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
  30. คาคบ : น. ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับลำต้นแยกกัน, คบ หรือ ค่าคบ ก็เรียก.
  31. คาราคาก่า, คาราคาซัง : ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
  32. จาบคา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Meropidae ลำตัวเรียวบาง สีออกเขียว ปากสีดำ ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด สร้างรังเป็นโพรงในดิน หรือตามหน้าผาเป็นกลุ่ม กินแมลง มีหลายชนิด เช่น จาบคาเคราแดง (Nyctyornis amictus) จาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) ซึ่งเดิมเรียก คับคา.
  33. นิคาลัย : (กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
  34. ปฏิคาหก : น. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).
  35. แมงคา : ดู แมงคาเรือง.
  36. แมงคาเรือง : น. ชื่อตะเข็บชนิดที่ตัวเรืองแสงเมื่ออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Geophilus วงศ์ Geophilidae เช่น ชนิด G. phosphoreus, G. electricus ขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีด ยาว ๓.๕-๔.๕ เซนติเมตร มีจํานวนปล้อง ๓๐-๖๖ ปล้องหรือมากกว่า ขายาวกว่า ความยาวของปล้องมาก อาศัยอยู่ตามที่รกรุงรัง กองขยะมูลฝอย ฯลฯ, แมงคา ก็เรียก.
  37. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล : [สะกะ, สะกิ] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
  38. สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิมรรค : [มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  39. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  40. อนุคามิก : ว. ตามไป, เกี่ยวเนื่อง. (ป.).
  41. ไม้ตับ : น. ไม้สำหรับหนีบปลาปิ้งไฟ ทำด้วยไม้ไผ่; ไม้ที่ใช้เป็นแกนสอดในเวลา กรองจากแฝก หรือ คา เรียกว่า ไม้ตับจาก ไม้ตับแฝก.
  42. สมุน ๒ : [สะหฺมุน] น. จาก คา หรือใบไม้ที่ใช้มุงหลบหลังคา.
  43. อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
  44. คาพยุต : [คาพะยุด] (แบบ) น. คาวุต, มาตราโบราณ สําหรับวัดความยาว ( = ๔,๐๐๐ ทัณฑะ หรือ ๒ โกรศ หรือ ๑ ใน ๔ ของโยชน์ = ๑๐๐ เส้น). (ป. คาวุต; ส. คฺวยูต).
  45. คาม, คาม- : [คามะ-, คามมะ-] (แบบ) น. บ้าน, หมู่บ้าน. (ป.).
  46. คามณี : [คามะ-, คามมะ-] (แบบ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน, หัวหน้า. (ป.).
  47. คามณีย์ : [คามะนี] น. ผู้ฝึกหัดม้าหรือช้าง, หมอช้าง, นายสารถี, เช่น พลคชคณผาดผ้าย คามณีย์ทาย จําทวยทวน. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  48. คามโภชก : [คามะ-, คามมะ-] น. นายบ้าน, นายตําบล, ผู้ใหญ่บ้าน, กํานัน. (ป.).
  49. คามวาสี : [คามะ-, คามมะ-] น. ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ใช้สําหรับเรียกคณะสงฆ์ ฝ่ายคันถธุระ, คู่กับ อรัญวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ. (ป., ส.).
  50. คายกคณะ : [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-153

(0.0811 sec)