Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เท้าหลัง, เท้า, หลัง , then ทา, ทาหลง, เท้า, เท้าหลัง, หลง, หลํ, หลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เท้าหลัง, 1288 found, display 1-50
  1. เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
  2. หลัง : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  3. หลัง : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  4. นก ๑ : น. ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุม ร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว.
  5. เท้าแขน : น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลัง ทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่ นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
  6. เท้าช้าง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทําให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการหนังหนา หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้น มักพบบ่อยที่เท้าหรือขา สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด ทําให้ ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
  7. เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทําแป้งเป็นอาหารได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม.
  8. หลังจาก : สัน. ภายหลัง.
  9. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  10. หลังเต่า : ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้ เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  11. หลังยาว : (สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.
  12. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  13. เท้าคู้ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า.
  14. เท้าแชร์ : น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
  15. เท้าสาน : ดู จั๋ง.
  16. เท้าสิงห์ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลัก ทําเป็นรูปตีนสิงห์.
  17. หลังเขียว : ดู กุแล.
  18. หลังฉัตร : น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.
  19. หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  20. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  21. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  22. กระน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  23. กระหน่อง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  24. กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
  25. กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
  26. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  27. ขี้เรื้อนกวาง : น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือ เอื้อมไปเกาถึง.
  28. เขียด : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว . (R. limnocharis)
  29. จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
  30. ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
  31. ปอง ๒ : น. เสาเตี้ย ๆ สําหรับผูกเท้าหลังของช้าง เช่น ผูกช้างยืนโรง ผูกช้างในการเล่นผัดช้าง เรียกว่า เสาปอง.
  32. ปะเตะ : ก. เตะ, ฟาดด้วยหลังเท้า.
  33. ภู่ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุม ลําตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาว ออกมาคล้ายหนวด ขาหลังตรงบริเวณส้นเท้ามีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือรวม ๒–๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้งที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes และ ชนิด X. caeruleus, แมลงภู่ ก็เรียก.
  34. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  35. เรื้อน : น. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขี้เรื้อน กุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตาม บริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทําให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.
  36. สะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคน ขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
  37. หกคะเมน : ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
  38. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  39. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).
  40. บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  41. ก้มหลัง : ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
  42. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  43. กินหน้า, กินหลัง, กินหาง : ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.
  44. คล้อยหลัง : ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดิน คล้อยหลังไปไม่นาน.
  45. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  46. จุดหลัง : ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น.
  47. ฐานเท้าสิงห์ : น. ฐานรูปสมมุติจากสิงห์แบก, ฐานสิงห์ ก็เรียก. (รูปภาพ ฐานเท้าสิงห์)
  48. ตบหัวลูบหลัง : (สํา) ก. ทําหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้ว กลับทําหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง.
  49. ตลบหลัง : ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วย้อนกลับมาตีหรือทําร้ายภายหลัง.
  50. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก : (สํา) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, หน้าไหว้หลังหลอก ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1288

(0.2130 sec)