Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โน้มเอียง, เอียง, โน้ม , then นม, โน้ม, โน้มเอียง, เอียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โน้มเอียง, 238 found, display 1-50
  1. เอียง : ว. อาการของสิ่งที่เอนไปข้างหนึ่ง เช่น คอเอียง, อาการของสิ่งที่เสีย ระดับ ไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เรือเอียง เรือน เอียง. ก. เปลี่ยนระดับไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เครื่องบินกำลังเอียงปีกเพื่อร่อนลง เขาเอียงคอดู.
  2. โน้ม : ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.
  3. เอียงเอน : ว. โน้มเอียง, ไม่เที่ยงตรง, เอนเอียง ก็ว่า.
  4. เอนเอียง : ว. โน้มเอียง, ไม่เที่ยงตรง, เอียงเอน ก็ว่า.
  5. โน้มน้าว : ก. ชักชวนให้เห็นดีเห็นงามหรือให้โอนอ่อนตาม.
  6. เอียงอาย : ว. แสดงท่าขวยเขินโดยก้มหน้าน้อย ๆ.
  7. ราคจริต : น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.
  8. เฉวียง : [ฉะเหฺวียง] น. ซ้าย; เอียง, ตะแคง, ทแยง. (ข. เฉฺวง).
  9. ประอรประเอียง : ว. งามกรีดกราย, เคล้าพิงอิงเอียง.
  10. ลำอุด : ก. อ่อนน้อม, โน้ม, น้อม. (ข. ลํอุต).
  11. โอน : ก. น้อมลง, โน้ม; ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น โอนบัญชี; ยอมมอบให้; ย้ายสังกัด; (กฎ) ทําให้สิทธิตกไปเป็นของบุคคลอื่น เช่น โอนกรรมสิทธิ์.
  12. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  13. แนวโน้ม : น. แนวทางที่น่าจะเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง.
  14. ประเอียง : ว. งาม.
  15. กระเท่ : ว. เท่, เอียง.
  16. กระเท่เร่ : ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.
  17. แถลบ : [ถะแหฺลบ] ว. เอียง เช่น นกบินแถลบ, มักใช้ว่า แฉลบ.
  18. น้อม : ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็น การแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
  19. ก้งโค้ง : ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, โก้งโค้ง ก็ว่า.
  20. กะเผลก : [-เผฺลก] ก. อาการเดินไม่ปรกติ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง.
  21. โก้งโค้ง : ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, ก้งโค้ง ก็ว่า. น. ที่เทลูกบาศก์สกา รูปคล้ายครก.
  22. ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
  23. เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
  24. คระแลง : [คฺระ-] ก. เอียง, ลอยไป. (แผลงมาจาก แคลง).
  25. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  26. ค้อม : ก. น้อมลง, ก้มหลัง, โน้มลง เช่น ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม. (โลกนิติ).
  27. คออ่อนคอพับ : ว. อาการที่คอเอียงไปมาเพราะเมา ง่วง หรือเหนื่อย เป็นต้น.
  28. เครื่องบิน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบ กับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
  29. เครื่องร่อน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ คล้ายเครื่องบิน แต่ไม่ใช้เครื่องยนต์ เคลื่อนที่ไปในอากาศโดยอาศัยกระแสลมและ ความโน้มถ่วงของโลก.
  30. แคลง : [แคฺลง] ก. อาการที่เรือเอียงหรือตะแคง เรียกว่า เรือแคลง; กินแหนง, สงสัย.
  31. โคลง ๒ : [โคฺลง] ก. เอียงไปเอียงมาหรือทําให้เอียงไปเอียงมา เช่น เรือโคลง ว่าวโคลง โคลงเรือ โคลงหัว.
  32. โฆษณาชวนเชื่อ : ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกล อุบายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม.
  33. ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
  34. เงี่ย : ก. เอียง, ตะแคง, ในคำว่า เงี่ยหู.
  35. เงี่ยหู : ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง.
  36. เงี่ยหู : ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง.
  37. โงนเงน : ก. เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา.
  38. ฉันทา : (กลอน) ก. ลําเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).
  39. ชระมัว : [ชฺระ] (กลอน) ว. ขมุกขมัว, ยังไม่สว่าง, เช้าตรู่, มืด, เช่น ชระมัวทั่วทิศเอียง อากาศ. (นิ. นรินทร์).
  40. ชวน ๑ : ก. จูงใจ, โน้มนํา, เช่น ชวนกิน; ชักนํา, ขอให้ทําตาม, เช่น ชวนไปเที่ยว.
  41. ชักนำ : ก. เกลี้ยกล่อมหรือโน้มนําให้เห็นคล้อยตาม.
  42. ช่าง ๑ : น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไป ในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่าง เก่งจริง ๆ.
  43. ซวดเซ : ก. เอนไป, เอียงไป, จวนล้ม, เสียหลัก, (มักใช้แก่ฐานะความเป็นอยู่) เช่น ฐานะซวดเซ.
  44. ซื่อตรง : ก. ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น เขาเป็นคนซื่อตรง.
  45. เดียดฉันท์ : ก. ไม่พอใจด้วย, รังเกียจ, ลําเอียง.
  46. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  47. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  48. แถ ๑ : ก. อาการที่นกเป็นต้นเอียงปีกร่อนลง, อาการที่ของแบน ๆ เช่นกระเบื้อง หรือรูป แฉลบหรือร่อนไปเฉียง ๆ, โดยปริยายเรียกอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วัน ๆ ไม่เห็นทำการทำงานได้แต่แถไปโน่นไปนี่.
  49. ทู ๒ : (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma ในวงศ์ Scombridae ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบ ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้าม กับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็ก บาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดํา ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) ดู ลัง.
  50. เท : ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือ ออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือ ตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-238

(0.1254 sec)