Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เปลือยเปล่า, เปลือย, เปล่า , then ปลอย, ปลอยปลา, ปลา, เปล่า, เปลือย, เปฺลือย, เปลือยเปล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เปลือยเปล่า, 671 found, display 601-650
  1. ส้มฟัก : น. อาหารทําด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. ส้มมะขาม
  2. สร้อย ๒ : [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกัน เป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินใน แหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดํา บนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก.
  3. สละ ๓ : [สะหฺละ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides sanctipetri ในวงศ์ Carangidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมาก มีจุดดําใหญ่อยู่บนเส้นข้างตัว ๕๘ จุด ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านสันหัว ขนาดโตได้ถึง ๑.๕ เมตร.
  4. สลาด : [สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มี ขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่อง กับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มี จุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.
  5. สลิด ๒ : [สะหฺลิด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis ในวงศ์ Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็ก และไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้าง ลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า, ราชาศัพท์เรียกว่า ปลาใบไม้.
  6. สลุมพร : [สะหฺลุมพอน] น. ปลาเนื้ออ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
  7. สวก ๒ : [สะหฺวก] น. สวิงขนาดเล็กชนิดหนึ่งสําหรับตักปลา.
  8. สวาย ๒ : [สะหฺวาย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius pangasius ในวงศ์ Schilbeidae ลําตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดเหนือครีบอก ขนาดยาวได้ ถึง ๑.๖ เมตร.
  9. สวิง : [สะหฺวิง] น. เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห ลักษณะเป็นถุง มักใช้ไม้หรือหวายทําเป็นขอบปาก.
  10. ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
  11. สะเดาะ : ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะ กุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
  12. สะตือ ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus borneensis ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดําเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว.
  13. สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
  14. สังกะวัง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius polyuranodon ในวงศ์ Schilbeidae ลักษณะรูปร่างคล้ายปลาสวาย หนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก ขนาดโต ได้ถึง ๕๒ เซนติเมตร.
  15. สังกะวาด : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล Pangasius วงศ์ Schilbeidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น สังกะวาดท้องโต (P. micronemus) สังกะวาดเหลือง (P. siamensis).
  16. สับนก : ว. เรียกแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตัวเล็ก ๆ สับละเอียดทั้งเนื้อ และก้างว่า แกงสับนก.
  17. สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
  18. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  19. หญ้า ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาขี้ยอก. (ดู ขี้ยอก).
  20. หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
  21. หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ : ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของ เป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.
  22. หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
  23. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  24. หมอช้างเหยียบ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pristolepis fasciatus ในวงศ์ Nandidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมี ลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบ กระตรับ ตะกรับหน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก.
  25. หมอตาล : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckii ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปาก ชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือ ขาวนวล พบในเขตที่ลุ่ม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาล อีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก.
  26. หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
  27. หมุบ, หมุบ ๆ : [หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.
  28. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  29. หมูเทโพ : น. ชื่อแกงคั่วส้มชนิดหนึ่ง ใช้หมูแทนปลาแกงกับผักบุ้งเป็นต้น.
  30. หลด : [หฺลด] น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้าง ปลายจะงอยปากบนเรียวยาว เช่น ชนิด Macrognathus aculeatus, Mastacembelus circumcinctus. (๒) ดู มังกร.
  31. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  32. หลิม ๒ : [หฺลิม] (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
  33. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  34. หลุมเสือก : น. หลุมที่ตรงปากใช้โคลนหรือดินเหนียวทำให้ลื่นเพื่อให้ปลา เสือกตัวลงไป.
  35. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  36. ห่อหมก : น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้นํ้าพริกกับเนื้อปลาเป็นต้นกวนกับ นํ้ากะทิมีผักรองแล้วห่อนึ่ง.
  37. หัวตะกั่ว ๑ : น. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์ Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลําตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาด เล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลําตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดํา ที่สําคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัว ระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.
  38. หัวพุงหัวมัน : น. ส่วนที่มีพุงและมันซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีในตัวปลา, โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ดีที่สุดเยี่ยมที่สุดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  39. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  40. หางกิ่ว : น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า.
  41. หางไก่ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูป สามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดู ใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.
  42. หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
  43. หางไหลแดง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Derris elliptica (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae รากใช้เบื่อปลาและทํายาฆ่าแมลง, ไหลนํ้า หรือ โล่ติ๊น ก็เรียก.
  44. หุงข้าวประชดหมา : (สํา) ก. ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์, มักพูดเข้าคู่กับ ปิ้งปลาประชดแมว ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.
  45. หูฉลาม : น. ชื่ออาหารคาวแบบจีน ปรุงด้วยครีบหรือกระโดงปลาฉลาม เนื้อปู เป็นต้น.
  46. หูช้าง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Platax วงศ์ Platacidae ลําตัวกว้างแบนข้างมาก รูปร่างคล้ายรูปไพ่โพดํา มีแถบสีดําพาดขวางลําตัว เช่น ชนิด P. orbicularis หูช้างครีบยาว (P. teira). (รูปภาพ ปลาหูช้าง)
  47. เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
  48. เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
  49. แห ๑ : น. ชื่อเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในนํ้าแล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมา.
  50. แหลน : [แหฺลน] น. เครื่องมือใช้แทงปลาเป็นต้น ทําด้วยเหล็กกลมยาว ปลายแหลม มีด้ามยาว; ชื่อเครื่องกีฬาชนิดหนึ่ง มีลักษณะกลมยาว ปลายแหลม ใช้พุ่ง ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลาน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-671

(0.1062 sec)