Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้นแท่น, แท่น, ขึ้น , then ขน, ขนทน, ขึ้น, ขึ้นแท่น, ทน, แท่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้นแท่น, 2456 found, display 1101-1150
  1. โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
  2. โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
  3. ใบขนุน : น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Lactarius lactarius ในวงศ์ Lactariidae ลําตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลําตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบน ของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดําเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบ ตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. (๒) ชื่อหนึ่งของปลาตาเดียวโดยเฉพาะ ทุกชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae เป็นปลาทะเล ที่มีตาทั้งคู่อยู่บนด้านซ้ายของหัว. (ดู ตาเดียว).
  4. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  5. ปม : น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก.
  6. ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  7. ปรนปรือ : [ปฺรนปฺรือ] ก. บํารุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
  8. ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  9. ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  10. ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
  11. ประคำร้อย : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณลําคอ เป็นเม็ดเรียงกัน รอบคอ.
  12. ประจุคมน์ : ก. ลุกขึ้นต้อนรับ. (ป. ปจฺจุคฺคมน).
  13. ประเจิด : ก. บรรเจิด, เชิดขึ้นสูง, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  14. ประดอย : ก. ทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ประดิด เป็น ประดิดประดอย.
  15. ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
  16. ประดิดประดอย : ก. บรรจงทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่า ประดอย ก็ได้.
  17. ประดิษฐกรรม : น. การทําสิ่งของขึ้นจากวัตถุดิบ.
  18. ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ : [ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ?; ป. ปติฏฺ?).
  19. ประดู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
  20. ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
  21. ประตูน้ำ : น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่ง ที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  22. ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  23. ประตูรับน้ำ : น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้า จากทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
  24. ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  25. ประเทือง : ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
  26. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  27. ประนม : ก. ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
  28. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  29. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  30. ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
  31. ประเมินภาษี : ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนด จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
  32. ประสิทธิ์ประสาท : [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  33. ประสิทธิผล : [ปฺระสิดทิผน] น. ผลสําเร็จ, ผลที่เกิดขึ้น.
  34. ปรับ ๒ : [ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทําให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทําให้เรียบ, ทําให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทําผิด, ลงโทษ ให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษ ต้องชําระเงินตามจํานวนที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาต่อศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
  35. ปรับปรุง : ก. แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น.
  36. ปรางค์ : [ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
  37. ปริ่ม : [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  38. ปริศนา : [ปฺริดสะหฺนา] น. สิ่งหรือถ้อยคําที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงําเพื่อให้แก้ ให้ทาย. (ส. ปฺรศฺน).
  39. ปรือ ๑ : [ปฺรือ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Scleria poaeformis Retz. ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นในนํ้า ใบยาว ๆ ใช้มุงหลังคาและสานเสื่อเป็นต้น, อีสานเรียก แวง. (๒) ดู กกช้าง.
  40. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  41. ปล่อง : [ปฺล่อง] น. ช่องหรือรูที่ทะลุขึ้นจากพื้นดิน เช่น ปล่องงู ปล่องหนู, สิ่งที่เป็นช่องกลวงคล้ายท่อตั้งตรงขึ้นไปสําหรับควันขึ้นหรือรับลม, ช่องที่ทะลุขึ้นจากถํ้า.
  42. ปล้อง ๒ : [ปฺล้อง] น. (๑) ชื่อหญ้าชนิด Hymenachne pseudointerrupta C. Muell. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. (๒) มะเดื่อปล้อง. (ดู มะเดื่อ).
  43. ปล้องไฉน : น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป.
  44. ปลาแดง : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด มีหนวด ในสกุล Kryptopterus วงศ์ Cyprinidae เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนที่ไม่มีครีบหลัง ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันแหลม ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาล แดง ด้านข้างสีอ่อนกว่าจนเป็นสีขาวที่ท้อง เช่น ชนิด K. apogon ชะโอน เนื้ออ่อน นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก, ชนิด K. bleekeri นาง หรือ สะงั่ว ก็เรียก.
  45. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง : (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
  46. ปลี : [ปฺลี] น. ช่อดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่; กล้ามเนื้อที่มีรูปลักษณะ อย่างหัวปลี เช่น ปลีน่อง; ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉน หรือบัวกลุ่มขึ้นไป.
  47. ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
  48. ปลุกระดม : ก. เร้าใจและยุยงให้ประชาชนลุกฮือขึ้น.
  49. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  50. ปสพ : [ปะสบ] (แบบ) น. สัตว์เลี้ยง; ของที่เกิดขึ้น, ของที่มีขึ้น; ดอกไม้, ลูกไม้. (ป. ปสุ, ปสว).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2456

(0.2123 sec)