Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้นแท่น, แท่น, ขึ้น , then ขน, ขนทน, ขึ้น, ขึ้นแท่น, ทน, แท่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้นแท่น, 2456 found, display 1301-1350
  1. พระราชกฤษฎีกา : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  2. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  3. พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  5. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  6. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  7. พราย : [พฺราย] น. ผีจําพวกหนึ่ง (มักกล่าวกันว่าเป็นผีผู้หญิงที่ตายทั้งกลม); ต่อมนํ้าเล็ก ๆ ที่ผุดกระจายขึ้นจากนํ้า. ว. แวววาว, พราว, พร้อย.
  8. พรายน้ำ : น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือ ที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วย สารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
  9. พราหมณ์ ๒ : [พฺราม] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า พราหมณ์ เช่น พราหมณ์เข้าโบสถ์พราหมณ์เก็บหัวแหวน พราหมณ์ดีดน้ำเต้า.
  10. พรุก : น. วันพรุ่งนี้, รุ่งขึ้น.
  11. พฤต : [พฺรึด] น. คําฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
  12. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  13. พลอมแพลม : [พฺลอมแพฺลม] ว. วาบแวบ, ผลุบโผล่, ประปราย, ไม่สมํ่าเสมอ, เช่น หญ้าขึ้นพลอมแพลม.
  14. พลาสติก : น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียมใช้ทําสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. (อ. plastic).
  15. พลุ่ก : [พฺลุ่ก] ว. พลุ่งขึ้นมา.
  16. พลุ่ง : [พฺลุ่ง] ก. อาการที่ไอน้ำหรือควันดันตัวพุ่งออกมาโดยแรง เช่น น้ำ เดือดไอน้ำพลุ่งขึ้นมา ไฟไหม้ควันพลุ่งขึ้นมา, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โทสะพลุ่งขึ้นมา อารมณ์เดือดพลุ่ง.
  17. พลูโทเนียม : [พฺลู] น. ธาตุลําดับที่ ๙๔ สัญลักษณ์ Pu เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. plutonium).
  18. พวงมาลา : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.
  19. พวงหรีด : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี สําหรับใช้เคารพศพ, หรีด ก็เรียก.
  20. พวยน้ำ : น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, นาคเล่นนํ้า ก็ว่า.
  21. พอกพูน : ก. เพิ่มขึ้นโดยลําดับ เช่น ทรัพย์สินพอกพูน พอกพูน ความรู้.
  22. พอน ๑ : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย ออกไปรอบ ๆเพื่อพยุงลําต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า, พูพอน ก็เรียก.
  23. พ่อเมือง : น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง.
  24. พะเนิน : น. ค้อนขนาดใหญ่สำหรับตีเหล็กหรือทุบหิน เป็นต้น; ของกองสุม กันขึ้นไปจนสูง, พะเนินเทินทึก ก็ว่า.
  25. พะเยิบพะยาบ : ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ (ใช้แก่สิ่งที่ เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว), เช่น หลังคาเต็นท์ถูก ลมพัดพะเยิบพะยาบ.
  26. พะเยิบ, พะเยิบ ๆ : ว. อาการที่ปลิวขึ้นปลิวลงช้า ๆ เช่น ผ้าถูกลมพัดปลิวพะเยิบ ๆ, อาการที่ของแบนบางกระพือขึ้นกระพือลงช้า ๆ เช่น นกกระพือปีก บินพะเยิบ ๆ, เผยิบ หรือ เผยิบ ๆ ก็ว่า.
  27. พะอง : น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูก พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันไดถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูก ต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  28. พัฒนาการ : น. การทําความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี.
  29. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  30. พัทธสีมา : น. เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มี ขนาดพอจุภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.
  31. พาณิชยศิลป์ : น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุ ประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพ โฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
  32. พาน ๓ : น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
  33. พายม้า : น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้ หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลําป่องออก ใช้ งานในแถบภาคกลาง, ใช้ว่า ไพม้า หรือ พลายม้า ก็มี.
  34. พายุโซนร้อน : น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณ ทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
  35. พายุไซโคลน : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป.
  36. พายุดีเปรสชัน : น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ทำให้ฝนตกปานกลาง ถึงตกหนัก เกิดขึ้นในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลม สูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง. (อ. depression).
  37. พายุไต้ฝุ่น : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเล จีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).
  38. พายุนอกโซนร้อน : น. พายุโซนร้อนที่เคลื่อนที่ไปในละติจูดสูง ๆ ในบริเวณนอกโซนร้อนหรือที่เกิดขึ้นนอกโซนร้อน.
  39. พายุฝุ่น : น. พายุที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินร้อนจัด กระแสอากาศยกตัว ขึ้นสู่เบื้องบน มวลอากาศที่อยู่ข้างเคียงจึงเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ มักเกิดในบริเวณที่เป็นทะเลทรายในฤดูร้อน.
  40. พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
  41. พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  42. พิธีมณฑล : น. บริเวณที่กําหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกําหนด ขอบเขตขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง.
  43. พิมพ์เขียว : ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็น กระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงิน บนพื้นขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
  44. พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
  45. พิมพ์สอดสี : ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป.
  46. พุ : ว. อาการที่น้ำหรือแก๊สเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น น้ำร้อนพุขึ้นมา แก๊ส ธรรมชาติพุขึ้นมา, อาการที่น้ำเหลืองเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น ฝีฝักบัว พุ. น. นํ้าที่พุขึ้นมา เรียกว่า นํ้าพุ. (ดู นํ้าพุ ที่ นํ้า).
  47. พุทธตันตระ : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่ง เกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลัก ปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
  48. พุทธรักษา : [พุดทะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดในสกุล Canna วงศ์ Cannaceae ขึ้นเป็นกอ ดอกสีต่าง ๆ.
  49. พุทธาวาส : น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจาก ส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
  50. พุทธุปบาทกาล : [พุดทุบบาดทะกาน] น. ช่วงเวลาที่มีพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในโลก. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2456

(0.1372 sec)