Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้นแท่น, แท่น, ขึ้น , then ขน, ขนทน, ขึ้น, ขึ้นแท่น, ทน, แท่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้นแท่น, 2456 found, display 51-100
  1. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  2. หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
  3. หัวน้ำขึ้น : น. นํ้าที่เริ่มไหลขึ้น.
  4. เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
  5. อืด : ว. พอง, ขึ้น, เช่น ท้องอืด; เฉื่อยชา, ช้า.
  6. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  7. กระท่อนกระแท่น : ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.
  8. ขมิ้นขึ้น : ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น๑.
  9. ขมิ้นหัวขึ้น : ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น๑.
  10. ค่าขึ้นศาล : (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคําฟ้อง.
  11. คางคกขึ้นวอ : (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดง กิริยาอวดดีลืมตัว.
  12. ทั้งขึ้นทั้งล่อง : (สํา) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทํานองไม่ดี).
  13. นั่งแท่น : ก. ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจวาสนา.
  14. น้ำขึ้นให้รีบตัก : (สํา) มีโอกาสดีควรรีบทํา.
  15. มุมยกขึ้น : น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนว ระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่สูงกว่าจุดเล็ง, มุมเงย ก็เรียก.
  16. เมืองขึ้น : น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
  17. ยกตัวขึ้นเหนือลม : (สํา) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น.
  18. ยุขึ้น : ก. หนุนให้ทำอะไรก็ทำตาม.
  19. ยุไม่ขึ้น : ก. หนุนเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมทำตาม.
  20. รุ่งขึ้น : น. วันใหม่, วันพรุ่งนี้.
  21. เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
  22. เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
  23. หือไม่ขึ้น : ก. เถียงไม่ได้, คัดค้านไม่ได้, ไม่กล้าเถียง, ไม่กล้าคัดค้าน.
  24. เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสาน :
  25. โกน ๒ : ก. ขูดผมหรือขนด้วยคมมีด. น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่า หรือ แรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็น แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ; (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ ค่า ขึ้น ๑๔ ค่า แรม ๗ ค่า และแรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน.
  26. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  27. ย่อมุม : ก. ทําให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทาง ด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.
  28. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  29. ขี้เกลื้อน : น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
  30. ค่ำ : น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
  31. โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
  32. จันทรคติ : น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึง เดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
  33. ดำเกิง : ก. ขึ้น. ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดําเกิงใจยะย้าว. (ม. คําหลวง มหาพน). (แผลงมาจาก เถกิง).
  34. เด้าลม : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) เด้าลมเหลือง (M. flava) เด้าลมดง (Dendronanthus indicus), กระเด้าลม ก็เรียก.
  35. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  36. เถลิง : [ถะเหฺลิง] ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอํานาจ. ว. ขึ้นหนุ่ม, ขึ้นเปลี่ยว, เช่น วัวเถลิง.
  37. ทะยานอยาก : ก. อยากได้หรืออยากมีอยากเป็นยิ่ง ๆ ขึ้น.
  38. บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
  39. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  40. พิมพา : น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ ฉลามเสือก็เรียก.
  41. โยคเกณฑ์ : [โยกเกน] น. การกําหนดดิถีกับฤกษ์ให้ต้องกัน คือได้ทั้งโยค หมายถึง ฤกษ์ และเกณฑ์ หมายถึง ดิถี คือ ขึ้น แรม.
  42. วันโกน : น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระ วันหนึ่งเดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่าและ แรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
  43. วันพระ : น. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือน หนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.
  44. แห้ว : [แห้วฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cyperaceae ขึ้น ตามที่ชื้นแฉะ หัวกินได้ เช่น แห้วจีน [Eleocharis tuberosa (Roxb.) Schult.], แห้วกระดาน (Scirpus grossus L.f. var. kysoor C.B. Clarke), แห้วไทย (Cyperus esculentus L.).
  45. ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
  46. ขน ๓ : น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก.
  47. ขนพอง : น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
  48. ขนพองสยองเกล้า : น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยอง มากเป็นต้น.
  49. ขนลุกขนชัน, ขนลุกขนพอง : น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยง หรือตกใจกลัวเป็นต้น.
  50. ขนหัวลุก : (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึก คล้ายกับผมตั้งชันขึ้น.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2456

(0.1727 sec)