Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง, ความ , then ความ, ความรมดรวง, ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความระมัดระวัง, 3290 found, display 1151-1200
  1. นิโครม : [โคฺรม] น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นําไปทําเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความ ต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. (อ. nichrome).
  2. นิตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย คือ ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto).
  3. นิติภาวะ : (กฎ) น. ความเป็นผู้มีความสามารถที่จะใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้ด้วยตนเอง.
  4. นิติวิทยาศาสตร์ : น. วิชาที่ว่าด้วยการนําหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยว กับคดีความ. (อ. forensic science).
  5. นิติเวชศาสตร์ : น. วิชาที่ว่าด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหา ทางกฎหมายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic medicine).
  6. นิติสมมติ : (กฎ) น. ความที่สมมุติขึ้นในกฎหมาย.
  7. นิติสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความเกี่ยวพันตามกฎหมาย.
  8. นิทาฆะ : (แบบ) น. ความร้อน, ความอบอ้าว; หน้าร้อน (ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน). (ป.).
  9. นินนาท, นินาท : [นินนาด, นินาด] (แบบ) น. ความกึกก้อง, การบันลือ. (ป. นินฺนาท; ส. นินาท).
  10. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  11. นิปริยาย : [นิปะริยาย] (แบบ) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).
  12. นิพพาน : [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
  13. นิพพิทา : [นิบพิทา] น. ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  14. นิพพิทาญาณ : น. ความรู้ที่ทําให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  15. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  16. นิยมนิยาย : (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยาย ไม่ได้หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
  17. นิยัตินิยม : [นิยัดติ] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทําทุกอย่างของมนุษย์หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
  18. นิยาม : [ยาม] (แบบ) น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
  19. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  20. นิรมาน : [ระมาน] (แบบ) ว. ปราศจากการถือรั้น, ไม่มีความดื้อดึง, ไม่ถือตัว.
  21. นิราพาธ : [พาด] (แบบ) ว. ไม่มีความเจ็บไข้. (ป., ส.).
  22. นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
  23. นิราศ ๒ : [ราด] ก. ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู่. (ส.; ป. นิราสา).
  24. นิรินธนพินาศ : [รินทะนะ] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).
  25. นิรุกติศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคํา. (ส.).
  26. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  27. นิโรธ, นิโรธ : [นิโรด, นิโรดทะ] (แบบ) น. ความดับ; นิพพาน. (ป.).
  28. นิ่ว ๒ : ก. ทําหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้า เช่นนั้น ในคําว่า หน้านิ่ว.
  29. นิวรณ์ : น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจ รักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่าน รําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
  30. นิเวศวิทยา : [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
  31. นิสัย : น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
  32. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  33. นีออน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. neon); (ปาก) เรียกหลอดไฟเรืองแสง ที่ให้ความสว่างหรือโฆษณาว่า หลอดนีออน.
  34. นึก : ก. คิด เช่น นึกถึงความหลัง นึกถึงอนาคต นึกไม่ถึง, คิดขึ้นมาในฉับพลัน เช่น นึกขึ้นมาได้.
  35. เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  36. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  37. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  38. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  39. เนื้อผ้า : (สำ) น. ความจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
  40. เนื้อหา : น. ใจความสําคัญ, ข้อสําคัญ, สาระสําคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่ จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).
  41. แนว : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
  42. แนวคิด : น. ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดในการปฏิรูป การศึกษา.
  43. แนวร่วม : น. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุน แก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
  44. แน่ะ : ว. คําทักหรือบอกให้รู้ตัว เช่น แน่ะอยู่นี่เอง แน่ะรถมาแล้ว; ใช้ประกอบ คําลงท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ราคาตั้ง ๕ บาทแน่ะ.
  45. แนะนำ : ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนํา ในการใช้ยา; บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.
  46. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  47. ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
  48. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  49. บกพร่อง : ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความ บกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
  50. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | [1151-1200] | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1485 sec)