Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง, ความ , then ความ, ความรมดรวง, ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความระมัดระวัง, 3290 found, display 1551-1600
  1. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  2. พระพุทธเจ้าอยู่หัว : น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินด้วยความนับถือ.
  3. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  5. พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก : (สํา) น. ความทุกข์ยากลําบากที่เกิด ซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน.
  6. พรากเด็ก : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอัน สมควร.
  7. พรากผู้เยาว์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
  8. พริบ : ก. กะพริบ ในคำว่า พริบตา. ว. ฉับพลัน, ทันทีทันใด, ในความว่า ชั่วพริบตาเดียว ในพริบตาเดียว.
  9. พริบไหว : น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
  10. พฤฒิ, พฤฒิ : [พฺรึดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤทธิ์ ก็ว่า. (ส.).
  11. พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
  12. พฤติการณ์ : น. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไป ในเวลากระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.
  13. พฤตินัย : (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
  14. พฤติ, พฤติ : [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
  15. พฤทธิ์ : [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลี และสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทําสระ ให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
  16. พลศึกษา : [พะละ] น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและ พัฒนาการทางร่างกาย.
  17. พลังงาน : (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้ แรงงานได้. (อ. energy).
  18. พลังจิต : น. ความเข้มแข็งของจิตใจ, อํานาจจิต.
  19. พลาสติก : น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียมใช้ทําสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. (อ. plastic).
  20. พวงมาลา : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.
  21. พสุ : [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  22. พหูสูต : น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียน มามาก. (ป. พหุสฺสุต).
  23. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  24. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  25. พ้อ ๑ : ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, ตัดพ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้.
  26. พอกพูน : ก. เพิ่มขึ้นโดยลําดับ เช่น ทรัพย์สินพอกพูน พอกพูน ความรู้.
  27. พ้อง : ว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.
  28. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  29. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  30. พอตัว : ว. พอเหมาะสมแก่ตน เช่น มีความสามารถพอตัว.
  31. พอที่ : ว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอ ที่จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย.
  32. พอไปได้ : ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
  33. พอสถานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอ สถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
  34. พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  35. พะพาน : ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้ พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.
  36. พัก : ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
  37. พัฒน, พัฒนะ : [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
  38. พัฒนากร : น. ผู้ทําความเจริญ, ผู้ทําการพัฒนา.
  39. พัฒนาการ : น. การทําความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี.
  40. พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
  41. พันธุกรรม : น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการ บางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
  42. พาดหัวข่าว : ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
  43. พาธ, พาธา : น. ความเบียดเบียน, ความทุกข์. (ป., ส.).
  44. พาน ๓ : น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
  45. พายเรือทวนน้ำ : (สํา) ก. ทําด้วยความยากลําบาก.
  46. พายุไซโคลน : น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป.
  47. พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
  48. พายุหมุน : น. ลมแรงที่พัดเวียนเข้าหาบริเวณศูนย์กลางที่มีความกด อากาศต่ำกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบมาก.
  49. พาโล : ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มี สร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
  50. พาหุสัจจะ : น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1444 sec)