Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง, ความ , then ความ, ความรมดรวง, ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความระมัดระวัง, 3290 found, display 1201-1250
  1. บทความ : น. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความ คิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น.
  2. บทคัดย่อ : น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสําคัญ, ข้อคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  3. บทบรรณาธิการ : น. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนํา เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนํา ก็ว่า.
  4. บทบัญญัติ : (กฎ) น. ข้อความที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใน กฎหมาย.
  5. บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
  6. บทภาชน์ : [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
  7. บทภาชนีย์ : [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
  8. บ่ม : ก. ทําให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.
  9. บรมัตถ์ : [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  10. บรรจง : [บัน-] ก. ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อย ใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
  11. บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
  12. บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  13. บรรพเภท : (แบบ) น. ความปวดร้าวในข้อ. (ส.).
  14. บรรยากาศ : น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความ ถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กําหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลําปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐?ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕? หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.
  15. บรรลุนิติภาวะ : (กฎ) ก. มีอายุถึงกําหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะ ผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง เช่น บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปี บริบูรณ์ หรือโดยการสมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้ว.
  16. บรากรม : [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  17. บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  18. บริกัป : [บอริกับ] (แบบ) น. ความตรึก, ความดําริ, การกําหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
  19. บริการ : [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการ ลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้ บริการ ใช้บริการ.
  20. บริเฉท, บริเฉท- : [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่ รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
  21. บริบท : [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  22. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  23. บริสุทธิ์ : [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  24. บริสุทธิ์ใจ : ว. มีนํ้าใสใจจริง, มีใจใสสะอาด, เช่น ทําด้วยความบริสุทธิ์ใจ.
  25. บอกศาลา : ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะ เลี้ยงดูอีกต่อไป.
  26. บ้องตื้น : ว. มีความคิดอย่างโง่ ๆ.
  27. บ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า.
  28. บังคม : (ราชา) ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม. (ข.).
  29. บังควร : ว. ควรอย่างยิ่ง, เหมาะอย่างยิ่ง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่บังควร หาเป็นการบังควรไม่.
  30. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  31. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  32. บัณฑิตย์ : [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).
  33. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  34. บันเทิงคดี : น. เรื่องที่เขียนหรือแต่งขึ้นโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ ผู้อ่าน.
  35. บัลลังก์ : น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียก ว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคํา ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็น พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อ พิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่น เหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
  36. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  37. บากบั่น : ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลําบาก.
  38. บากหน้า : ก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจําใจ จําเป็น.
  39. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  40. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  41. บาทบูรณ์ : [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมี ความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  42. บ้านนอก : น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอก ตัวเมือง. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
  43. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  44. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  45. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  46. บาร์ ๑ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี) หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
  47. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  48. บาร์เรล : น. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตร นํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน. (อ. barrel).
  49. บารอมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความ สะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
  50. บ้าสมบัติ : ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด, ที่ชอบสะสม สิ่งของต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจําเป็น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1522 sec)