Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง, ความ , then ความ, ความรมดรวง, ความระมัดระวัง, ระมัดระวัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความระมัดระวัง, 3290 found, display 3151-3200
  1. อาบแดด : ก. ให้ผิวกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดถูกแดด เพื่อ สุขภาพหรือความงาม.
  2. อาบเหงื่อต่างน้ำ : ก. ตรากตรําทํางานด้วยความเหนื่อยยาก.
  3. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  4. อาภา : น. แสง, รัศมี, ความสว่าง. (ป., ส.).
  5. อามัย : น. ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย, ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย ความไม่มีโรค. (ป., ส.).
  6. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  7. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  8. อายุกษัย : [กะไส] น. การสิ้นอายุ, ความตาย. (ส.; ป. อายุขย).
  9. อายุขัย : น. การสิ้นอายุ, ความตาย; อัตรากําหนดอายุจนสิ้นอายุ. (ป.; ส. อายุกฺษย).
  10. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  11. อารยธรรม : น. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง ศีลธรรม และกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
  12. อารักขา : ก. ป้องกัน, คุ้มครอง, ดูแล. น. การป้องกัน, ความคุ้มครอง, ความดูแล. (ป.).
  13. อารักษ์ : น. การป้องกัน, ความคุ้มครอง, ความดูแล; เทวดาผู้พิทักษ์รักษา, มักใช้ว่า เทพารักษ์ หรือ อารักษเทวดา. (ส.; ป. อารกฺข).
  14. อารัมภ, อารัมภะ, อารัมภ์ : [อารำพะ] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).
  15. อาราม ๒ : น. ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน.
  16. อาลัย ๑ : ก. ห่วงใย, พัวพัน, ระลึกถึงด้วยความเสียดาย. น. ความห่วงใย, ความพัวพัน, ความระลึกถึงด้วยความเสียดาย. (ป., ส. อาลย).
  17. อาโลก, อาโลก : [โลก, โลกะ] น. แสงสว่าง, ความสว่าง; การดู, การเห็น, สิ่งที่เห็น. (ป., ส.).
  18. อาวัชนาการ : [วัดชะ] น. ความรําพึง; การรําลึก. (ป. อาวชฺชน + อาการ).
  19. อาวุโส : ว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการ ทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคํา อาลปนะ คือ คําที่ พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษา น้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคําที่ พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษา มากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).
  20. อาเวค : [เวก] น. อารมณ์, ความรู้สึก, ความสะเทือนใจ. (อ. emotion).
  21. อาศัย : ก. พักพิง, พักผ่อน; พึ่ง; อ้างถึง เช่น อาศัยความตามมาตราที่ (ส.). อาศัยที่, อาศัยว่า สัน. เนื่องจาก, โดยเหตุที่.
  22. อาศิร ๑, อาเศียร : [อาสิระ, เสียนระ] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คํานี้เมื่อนําหน้า อักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
  23. อาสัญ : (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อส?ฺ? ว่า ไม่มีสัญญา).
  24. อาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวัง หมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
  25. อาสาสมัคร : ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร. น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความ สมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
  26. อำนาจ : น. สิทธิ เช่น มอบอํานาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอม ทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถ บันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อํานาจบังคับของ กฎหมาย อํานาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถ ทําหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อํานาจคุณพระ ศรีรัตนตรัย อํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กําลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อํานาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อํานาจ; การบังคับ เช่น ขออํานาจศาล.
  27. อำพราง : ก. ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น, พูดหรือแสดง อาการไม่ให้รู้ความจริง. ว. ที่ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น เช่น ฆาตกรรม อำพราง.
  28. อำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมตําบลหลายตําบลให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกันและได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอําเภอ อําเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด มีนายอำเภอเป็น หัวหน้าปกครอง.
  29. อำเภอใจ : น. ความคิดเห็นโดยเอาแต่ใจตัว.
  30. อำยวน : [ยวน] น. ความลับ. ก. ปิดบัง, พราง, อําพราง.
  31. อำอวม : (โบ) ว. ที่ปิดบังความจริง (ใช้แก่กริยาพูด), อวมอำ ก็ว่า.
  32. อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
  33. อิทธิ, อิทธิ : [อิดทิ] น. ฤทธิ์, อํานาจศักดิ์สิทธิ์; ความเจริญ, ความสําเร็จ, ความงอกงาม. (ป.; ส. ฤทฺธิ).
  34. อินทรียโคจร : ว. อยู่ในเขตความรู้สึก, ซึ่งรู้สึกได้. (ส.).
  35. อินทรียญาณ : น. ความรู้สึก. (ป.).
  36. อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
  37. อินฟราเรด : [ฟฺรา] น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสี ความร้อน ก็เรียก. (อ. infrared).
  38. อินัง, อินังขังขอบ : ก. เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นําพา, (มักใช้ในความ ปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่.
  39. อิศร : [อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็น ใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
  40. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  41. อิษฏี ๑ : [อิดสะ] น. ความกระหาย, ความอยาก, ความต้องการ. (ส.).
  42. อิสรภาพ : น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นไทแก่ตัว; การปกครอง ตนเอง.
  43. อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
  44. อิสริยยศ : [อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศ ทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้า พระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดี ความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม จึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.
  45. อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
  46. อิสสา : [อิด] น. ความหึงหวง, ความชิงชัง. (ป.; ส. อีรฺษฺยา).
  47. อิสิ, อิสี : น. ผู้แสวงคุณความดี, ฤษี, ผู้ถือบวช. (ป.; ส. ฤษิ).
  48. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  49. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  50. อื้อฮือ : อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | [3151-3200] | 3201-3250 | 3251-3290

(0.1338 sec)