Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตลอดเวลา, เวลา, ตลอด , then ตลอด, ตลอดเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตลอดเวลา, 1040 found, display 101-150
  1. กรับพวง : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือ แผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน และมีไม้แก่น หรืองาประกับ ๒ ข้างอย่างด้ามพัด ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรู ร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็น จังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็น อาณัติสัญญาณ.
  2. กราด ๓ : [กฺราด] น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบกับเรือ, บางถิ่นเรียกว่า กรีด หรือ เรือกรีด, เวลาจับสัตว์น้ำใช้แจวไปตาม ฝั่งคลองหรือแม่น้ำ โดยให้ไม้สําหรับกรีดนั้นระไปในน้ำ.
  3. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  4. กราวรูด : [กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
  5. กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
  6. กริม : [กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่า และสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย (T. vittatus), กัดป่า ก็เรียก.
  7. กรึง : [กฺรึง] (โบ) ก. ตรึง, ปักแน่น, ทําให้อยู่กับที่, เช่น ต้องศรพรหมาสตร์ฤทธิรณ กรึงแน่นทรวงบน ตลอดจนยอดปฤษฎางค์. (พากย์).
  8. กรึ่ม : [กฺรึ่ม] ว. อาการที่เมาเหล้าตลอดทั้งวัน เรียกว่า เมากรึ่ม.
  9. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  10. กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
  11. กลเม็ด ๒ : [กนละ-] น. ชื่อเทียนชนิดหนึ่ง ซึ่งตามประเพณีเดิมจุด ตั้งแต่วันเกิดมาและเลี้ยงไฟต่อกันไว้จนถึงวันตาย เมื่อถึงวันเผาก็ใช้ไฟนั้นเผา เรียกว่า เทียนกลเม็ด, เทียนจุดคู่ชีพเวลาจะสิ้นใจ.
  12. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  13. กล้อง ๑ : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
  14. กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
  15. กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
  16. กลางค่ำ : (โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
  17. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  18. กลางดึก : น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
  19. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  20. กลียุค : [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
  21. กวางผา : [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย.
  22. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  23. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  24. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  25. กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
  26. กะตัก : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็น เพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
  27. กะแท่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ต้นเล็กราวเท่านิ้วมือ เวลาออกดอกไม่มีใบ ก้านช่อดอกอ่อน ๆ ใช้แกงได้, พายัพเรียก ดอกก้าน.
  28. กะลอจี๊ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวทอดไฟอ่อน ๆ เวลากินคลุกงาผสมน้ำตาลทรายขาว.
  29. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  30. กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
  31. กัดฟัน : ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึง ความอดกลั้น, โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันใน เวลานอนหลับ.
  32. กันดาร : [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).
  33. กัป : [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
  34. กัลปาวสาน : [กันละปาวะสาน] น. ที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์. (ส. กลฺป + อวสาน).
  35. กา ๒ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย ก็เรียก.
  36. กาล ๑, กาล- : [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
  37. กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
  38. กาลเทศะ : [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
  39. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  40. กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
  41. กำพวด ๑ : น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
  42. กำลัง ๒ : น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
  43. กิน : ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่าเปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
  44. กินแถว : ก. เอาตัวหมากออกจากกระดานตลอดทั้งแถว (ใช้เฉพาะการเล่นหมากแยก). ว. กระทบกระเทือนทุกคนในพวกนั้น, ถูกลงโทษทุกคนในพวกนั้น.
  45. กินบวช : ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนด ของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
  46. กี้, กี๊ : น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
  47. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  48. กุยเฮง : น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
  49. กุลาดำ : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon ในวงศ์ Penaeidae ตัวแบนข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำ และสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว.
  50. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1040

(0.1257 sec)