Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตลอดเวลา, เวลา, ตลอด , then ตลอด, ตลอดเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตลอดเวลา, 1040 found, display 851-900
  1. วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  2. วารสาร : น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
  3. วาว : ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  4. วาฬ ๒ : [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อ ช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลา โผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติ ไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
  5. วิกฤตกาล, วิกฤติกาล : น. เวลาอันวิกฤติ เช่น ในวิกฤติกาลข้าวของ มีราคาแพงและหาซื้อยาก.
  6. วิกฤต, วิกฤต, วิกฤติ, วิกฤติ : [วิกฺริด, วิกฺริดตะ,วิกฺริด, วิกฺริดติ] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).
  7. วิกาลโภชน์ : น. การกินอาหารในเวลาวิกาล คือ ผิดเวลา ซึ่งว่าตาม พระวินัยกำหนดไว้ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น. (ป.).
  8. วิกาล, วิกาล : [วิกาน, วิกานละ] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้า บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ วินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหาร ในเวลาวิกาล. (ป.).
  9. วิ่งรอก : ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
  10. วิทยาเขต : น. ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่ตั้งอยู่ในบริเวณอื่น มีคณาจารย์อาคาร สถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตนเอง เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีคนเดียวกัน และสภามหาวิทยาลัยชุดเดียวกัน.
  11. วินิจฉัย : ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัย ปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
  12. วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  13. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  14. ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
  15. ศตสังวัตสร์ : น. เวลานานชั่ว ๑๐๐ ปี. (ส.).
  16. ศศิ ๒ : [สะสิ] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  17. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  18. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  19. ศาลาตักบาตร, ศาลาบาตร : น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐาน สำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะ ตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
  20. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  21. ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
  22. ศุกระ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  23. ศุกลปักษ์ : น. เวลาข้างขึ้น. (ส.).
  24. ศุโกร : [สุกโกฺร] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  25. ศูนย์เยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชน ไทยญี่ปุ่น ดินแดง.
  26. โศกสลด : ว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึง มักจะทำให้น้ำตาไหล.
  27. สกี : น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕๒.๔ เมตร มีที่ สําหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบน แผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดย มีไม้คู่หนึ่งสําหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
  28. สเกต : น. ที่สวมเท้าทําด้วยโลหะมีล้อเล็ก ๆ ใช้สวมเวลาเล่นสเกต; ชื่อการเล่น อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมสเกตวิ่งไปมาบนพื้นเรียบ ๆ. (อ. roller skate).
  29. สนธยา : [สนทะ] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลา ที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือ พระอาทิตย์ตก. (ส.).
  30. สนอบ : [สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้ นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).
  31. สนับมือ : น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับสวม นิ้วมือเวลาชก.
  32. สนามบิน : น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.
  33. สนามเพลาะ : น. คูที่ขุดกำบังตัวในเวลารบ.
  34. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  35. ส้มเช้า : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia ligularia Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นคล้ายต้นสลัดได แต่มีใบซึ่งมีรสเปรี้ยวในเวลาเช้า. (๒) ดู ต้นตายใบเป็น.
  36. สมอ ๑ : [สะหฺมอ] น. หิน. (ข. ถฺม); ของหนักที่ล่ามโซ่หรือเชือกอยู่กับเรือ เวลาจอดเรือใช้ทอดลงไปในนํ้าให้เกาะพื้นเพื่อไม่ให้เรือเคลื่อนไปที่อื่น.
  37. สมัย : [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
  38. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  39. สลักเสลา : [สะเหฺลา] ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลา เสาหินเป็นลายเทพนม.
  40. สลับฉาก : น. เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละคร แต่ละฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดงสลับฉาก.
  41. สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
  42. สลิด ๒ : [สะหฺลิด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis ในวงศ์ Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็ก และไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้าง ลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า, ราชาศัพท์เรียกว่า ปลาใบไม้.
  43. สแลง : น. ถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. (อ. slang).
  44. สวมหมวกหลายใบ : (สำ) ก. ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลา เดียวกัน.
  45. สวัสดิภาพ : น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน.
  46. สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
  47. สอบถาม : ก. ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น สอบถามเวลาเดินรถ.
  48. ส้อมเสียง : น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับ จับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่ อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  49. สะดึง : น. กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบ สําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.
  50. สะบัดสะบิ้ง : ก. แสดงอาการกะบึงกะบอนแสนงอน เช่น เวลางอน ก็ทำกิริยาสะบัดสะบิ้ง. น. ชื่อกลบทแบบหนึ่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1040

(0.1141 sec)