Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่องเที่ยว, เที่ยว, ท่อง , then ทยว, ทอง, ท่อง, ทองทยว, ท่องเที่ยว, เที่ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่องเที่ยว, 602 found, display 301-350
  1. ขนมเปียก : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อ และกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
  2. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  3. ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  4. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  5. ขันสาคร : น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์หรือสำหรับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. (รูปภาพ ขันสาคร)
  6. ข้าวหลามตัด : น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้าน ขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
  7. ขื่อผี : น. ชื่อกําไลที่ทําด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด ทําเป็น ห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กําไลคู่ผี ก็เรียก.
  8. ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
  9. เข้มขาบ : น. ผ้าที่ทอควบกับทองแล่งเป็นริ้ว ๆ ตามยาว. (อิหร่าน).
  10. เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
  11. ไข่แมงดา : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้ โรยหน้าข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด.
  12. คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
  13. ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
  14. คร่ำ ๔ : [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็น ลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
  15. ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
  16. ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
  17. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  18. ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
  19. คว้าง : [คฺว้าง] ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เช่น ลอยคว้าง หมุนคว้าง; ลักษณะที่ละลายเหลวอย่างนํ้า เช่น ทองละลายคว้างอยู่ในเบ้า.
  20. ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
  21. คากรอง : น. เครื่องปกปิดร่างกายที่ทําด้วยหญ้า เช่น ควรหรือมานุ่ง คากรอง ควรแต่เครื่องทองไพศาล. (ศกุนตลา).
  22. ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
  23. คำ ๑ : น. ทองคํา เช่น หอคำ เชียงคำ.
  24. เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
  25. เครื่องใหญ่ : น. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดทองเป็นอุปกรณ์ระนาดเอก และระนาดเหล็กเป็นอุปกรณ์ระนาดทุ้ม.
  26. แคบ ๒ : น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วย อลงการ เบาะลอออานแคบคํา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).
  27. งามแงะ : (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะ ว่าเล่นหรือว่าจริง.(สังข์ทอง).
  28. งาสาน : (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า 'คามวาสี อรัญวาสี' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี.
  29. เงินสเตอร์ลิง : น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มี องค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคําร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).
  30. เงือด, เงือดงด : ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
  31. จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  32. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  33. จ่ามงกุฎ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วย ใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).
  34. จามีกร : [-กอน] น. ทอง, เครื่องทอง. (ป., ส.).
  35. จารุ : (แบบ) น. ทองคํา. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
  36. จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  37. จำลอง ๒ : น. อาน, สัปคับ. จำลองทอง น. เครื่องสัปคับจำพวกกูบ ใช้ผูกหลังช้างพัง.
  38. จี้ ๑ : น. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทําด้วยทองคําประดับ เพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสําหรับห้อยคอ.
  39. ฉลาม : [ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลา กระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยก สูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะ สืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวน้า เช่น ฉลามหนู (Scoliodon sorrakowvah), ฉลามเสือเสือทะเล พิมพา หรือตะเพียนทอง (Galeocerdo cuvieri) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน (Chiloscyllium griseum) บางชนิดอยู่ในน้ำลึกมาก เช่น ฉลามน้ำลึก (Squalus fernandinus) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni.
  40. ฉัพพรรณรังสี : [ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือ หงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
  41. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  42. แฉง : น. กระบังศัสตราวุธ เช่น คนถือหอกแฉงปลอกทอง. (สุบิน). (ข.).
  43. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  44. ชมพูนท, ชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิ กล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
  45. ชัมพูนท : [ชําพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. (ป.; ส. ชามฺพูนท).
  46. ชาดหรคุณ : [ชาดหอระ] น. ชาดประสมกับปรอทและ กํามะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และ เพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).
  47. ชามพูนท : [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
  48. ชื่นมื่น : ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น. (สังข์ทอง).
  49. ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  50. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-602

(0.0821 sec)