Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่องเที่ยว, เที่ยว, ท่อง , then ทยว, ทอง, ท่อง, ทองทยว, ท่องเที่ยว, เที่ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่องเที่ยว, 602 found, display 51-100
  1. จรลู่ : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
  2. ชเล : (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
  3. ชวน ๑ : ก. จูงใจ, โน้มนํา, เช่น ชวนกิน; ชักนํา, ขอให้ทําตาม, เช่น ชวนไปเที่ยว.
  4. ชอบ : ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิง ว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบ ที่จะทําได้.
  5. ช่ำ : ว. มากพอแก่ความต้องการจนสมอยาก เช่น เที่ยวเสียชํ่า กินเสียชํ่า.
  6. ซัดเซ : ก. เที่ยวไปไม่เป็นตําแหน่งแห่งที่.
  7. โซซัดโซเซ : ก. เที่ยวร่อนเร่ไปมาด้วยความอดอยาก.
  8. เดินตลาด : ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
  9. ตะบม : ว. รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น เที่ยวตะบม.
  10. ตะลอน : (ปาก) ก. เที่ยวไปเรื่อย ๆ.
  11. เถลไถล : [ถะเหฺลถะไหฺล] ว. ไม่ตรงไปตรงมาเที่ยวแวะโน่นแวะนี่.
  12. ทอง ๒ : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
  13. ทอง ๓ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่า ทองย่อน ทองย้อย.
  14. ท่องจำ : ก. ท่องบ่นจนจําได้, ท่องบ่นจนขึ้นใจ.
  15. ทั้ง...ทั้ง : ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าว ทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ ล้วนน่าเที่ยว.
  16. บ่น : ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่น ภาวนา.
  17. บ้าลำโพ : ง ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโห โกรธา เช่น พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้า ลําโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
  18. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  19. ประพาสต้น : (ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไป อย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.
  20. ประสาร : (แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า เที่ยวไป; ป. ปสาร).
  21. ปรุ : [ปฺรุ] ก. ทําให้เป็นรู ๆ, สลักให้เป็นรู ๆ มีลวดลายต่าง ๆ. ว. เป็นรูเล็ก ๆ เช่น หน้าปรุ; ทะลุ, ตลอด, เช่น เที่ยวเสียปรุ.
  22. ปล่อยปละ. : ว. เรียกควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพังว่า ควายปละ.
  23. ปิกนิก : น. การพากันไปเที่ยวชั่วระยะเวลาสั้น ๆ และมีของกินไป เลี้ยงกันด้วย. (อ. picnic).
  24. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  25. พเนจร : น. ผู้เที่ยวป่า, พรานป่า; โดยปริยายหมายความว่า ร่อนเร่ไป, เที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย. (ป., ส. วเนจร).
  26. โพน ๑ : น. วิธีคล้องช้างเถื่อน คือ เอาช้างต่อไปเที่ยวต้อนคล้องเอา.
  27. ภิกขาจาร : น. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ป.).
  28. ภิกษาจาร : น. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).
  29. มะงุมมะงาหรา : [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
  30. มัคคุเทศก์ : น. ผู้นําทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นําเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).
  31. มิคลุท, มิคลุทกะ : [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่ เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
  32. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  33. ยันป้าย : ก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.
  34. ยืนยัน : ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดย แน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนง โดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี.
  35. รชนีจร : [–จอน] น. ผู้เที่ยวไปกลางคืน; รากษส. (ส.).
  36. ร่อนเร่ : ก. เที่ยวเตร่ไปไม่เป็นกําหนดที่ทาง, เร่ร่อน หรือ เร่ร่าย ก็ว่า.
  37. ระราน : ก. ประพฤติเป็นพาลเกเร ทำให้เดือดร้อน เช่น เขาเที่ยวระรานชาวบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เกะกะ เป็น เกะกะระราน.
  38. ระเร, ระเร่ : ก. เที่ยวเตร่ไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่กําหนด, ไถล.
  39. รังหยาว : ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนัง ทํารังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.
  40. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  41. ร่ำร้อง : ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
  42. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  43. ร่ำเรียน : ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
  44. ริ : ก. เริ่มคิดหรือทําแปลกจากปรกติ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ริสูบบุหรี่ ริเที่ยวกลางคืน, ริอ่าน ก็ว่า.
  45. รู้อยู่ : ว. เลี้ยงง่าย, ไม่อ้อน, ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ว่า เด็กรู้อยู่; (ปาก) โดย ปริยายหมายความถึงคนหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิดที่ไม่ชอบเที่ยวเตร่.
  46. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  47. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  48. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  49. ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
  50. ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-602

(0.0805 sec)